วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมการนำเสนอสื่อการสอน





ภาพการนำเสนอกิจกรรมสื่อการสอนในเรื่อง ร่างกายของเรา

ซึ่งสื่่อที่นำมาทำกิจกรรมสื่อการสอนนั้นจะเป็นคำศัพท์ส่วนต่างๆร่างกายของคนเรา โดยสื่่อนี้จะใช้กับระดับเด็กอนุบาล 1
โดยสื่อประเภทนี้จะจัดอยุู่ในประเภทของทัศนสัญลักษณ์ และสื่อที่นำมาเป็นสื่อการสอนนั้นก็เป็นแผนภาพส่วนต่างๆ

ของร่างกายเพื่อให้เหมาะสมกับวัยระดับนี้

ข้อดีของสื่อนี้คือ สีสันสวยงาม ราคาไม่แพง หาได้ง่าย

ข้อเสียของสื่้อนี้คือ เหมาะสำหรับเด็กๆ ขนาดของแผนภาพอาจจะเล็กไป ถ้าใช้กับจำนวนเด็กมากๆ

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คุณค่าของวิธีระบบกับการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น ระบบ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดาเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สาคัญ 4 ประการ คือ


1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )


4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback) 5. การควบคุม (Comtrol) องค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ




เทคโนโลยีการศึกษา คือ เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์(วัสดุ)และผลิตผลทางวิศวกรรม(อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้าน บริหาร ด้านวิชาการ และด้านบริการ หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาเป็นระบบ การนาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น



วัสดุ (Materials) หมายถึง ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผัง สิ้นเปลืองได้ง่าย ใช้แล้วหมดไปไม่คงทนถาวร เช่น ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม ฯลฯ



อุปกรณ์ (Equipment) หมายถึง ผลิตผลทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กระดานดา โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ



วิธีการ (Techniques) หมายถึง ระบบกระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคานึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นามาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น



คุณค่าของวิธีระบบ



-ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน


-ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินการได้ทุกขั้นตอน


-ผู้ตรวจสอบสามารถติดตามได้ง่าย


-ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


-ทำให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล


-ได้สิ่งเร้าปัญหาที่ดีที่สุด


-ทำให้การทำงานบรรลุผลได้ง่าย



คุณค่าของเทคโนโลยีการศึกษา



-เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน


-เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้


-เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง


-เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ


-เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น


อ้างอิง : http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p2-3.html
http://netnapa-aon9.blogspot.com/2007/11/2.html

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์ตรง ณ ฝ่ายโรงพิมพ์และฝ่ายสื่อการส่งเสริม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพิมพ์ไทยรัฐ 10-11 พ.ค.

โรงพิมพ์ไทยรัฐ



ประวัติหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
กำเนิดหนังสือพิมพ์ไทยรัฐภายใต้การบริหารของนายกำพล วัชรพล เริ่มขึ้นเมื่ปลายปี 2492




ยุคที่ 1 (ข่าวภาพ พ.ศ.2493-2501)


ยุคที่ 2 (เสียงอ่างทอง พ.ศ.2502-2505)


ยุคที่ 3 (ไทยรัฐ ซอยวรพงษ์ พ.ศ.2505-2513)


ยุคที่ 4 (ไทยรัฐวิภาวดีรังสิต พ.ศ.2513-2531)
ยุคที่ 5 (ไทยรัฐวิภาวดีรังสิต พ.ศ.2531-ปัจจุบัน)



หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จำหน่ายแยกเป็น 2 กรอบ คือกรอบแรก และกรอบหลัง โดยแต่ละกรอบจะมีเครื่องหมายเป็นรูปดาวกำกับด้านขวาของปกหน้า แสดงเขตการจำหน่าย


*จำหน่ายในเขตภาคอีสาน แะตะวันออก

**จำหน่ายในเขตภาคเหนือ

***จำหน่ายในเขตภาคใต้

****จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ

*****จำหน่ายในเขตภาคกลาง

******จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ (กรอบหลัง)


กิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์ตรง ณ ฝ่ายโรงพิมพ์และฝ่ายสื่อการส่งเสริม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพิมพ์ไทยรัฐ 10-11 พ.ค.

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำหรับ Traditional Process จะใช้เวลาในการพิมพ์ประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการพิมพ์ ซึ่งจะเหมาะกับการพิมพ์เป็นจำนวนมากๆ


สำหรับ Print On Demand Process (Digital) จะเป็นการพิมพ์ประมาณชั่งโมงกว่าๆ และจะเหมาะกับการพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ในจำนวนที่ไม่มากนัก



ผู้บริหารสำนักฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-อ.กฤษณ์ พลอยโสภณ

-อ.ไพโรศ กิ่งจันทร์

ระบบการพิมพ์
-Leterpress จะใช้แม่พิมพ์ หรือตะกั่วมาพิมพ์
-Offest เป็นระบบทันสมัย เป็นระบบที่ดีที่สุด ให้ภาพที่มีความละเอียดอ่อน


-Gravure เป็นระบบแบบอุตสาหกรรมในการใช้สำหรับพิมพ์ประเภทของบรรจุภัณฑ์


-Silk Screen เป็นระบบที่ใช้ผ้ารูดปาดบนสื่อวัตถุต่างๆ
-Flexography เป็นระบบที่ทันสมัยหรือดิจิตอลเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร



ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์



กิจกรรมที่ 6 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทคู่มือการใช้ (Operation Manual)

คู่มือการใช้ (Operation Manual)



คืออธิบายการทำงานและขั้นตอนต่างๆ ของระบบงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อใช้งานสื่อและเครื่องมือนั้นได้



องค์ประกอบของคู่มือการใช้



1. หน้าปก



2. สารบัญ



3. คำแนะนำความปลอดภัย/ข้อควรระวัง



4. ส่วนประกอบของสื่อนั้น ๆ



5. แผงหน้าปัดการทำงาน



6. คำแนะนำการใช้............(ชื่อสื่อ) ได้แก่ ข้อแนะนำในการติดตั้ง



7. การดูแลรักษาและทำความสะอาด



8. การเรียกใช้บริการตรวจสอบเครื่อง



9. ข้อมูลจำเพาะ

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

หนังสือ หมายถึง การบันทึกความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ลงบนแผ่นกระดาษขนาดเท่า ๆ กัน โดยใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารในการสื่อสารให้ผู้อ่านได้รับรู้ และเข้าใจ ซึ่งใช้การเขียน หรือพิมพ์ แล้วนำมาเย็บรวมเป็นเล่ม



หนังสือมีประโยชน์ ดังนี้



1. บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้อย่างละเอียดชัดเจน


2. ถ่ายทอดวัฒนธรรมและเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน


3. ส่งเสริมความใฝ่รู้ให้แก่ผู้อ่านด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและรูปเล่มที่ดึงดูดความสนใจ


4. สร้างนิสัยรักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์



ส่วนประกอบของหนังสือ



การศึกษาส่วนประกอบของหนังสือนั้น มีความจำเป็นมากสำหรับผู้อ่าน นอกเหนือจากการอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือแล้ว ผู้อ่านควรที่จะทราบส่วนประกอบของหนังสือด้วย เนื่องจากแต่ละส่วนของหนังสือ จะบอกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือใช้ประกอบการอ้างอิงได้ หรือเพื่อประโยชน์ในการช่วยให้อ่านหนังสือได้เข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งหนังสือประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้



1. ส่วนปก (binding)


2. ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)


3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text / body of the book)


4. ส่วนประกอบตอนท้าย (auxiliary materials)



1. ส่วนปก (binding)


1.1 ใบหุ้มปก (book jacket / dust jacket / wrapper)


1.2 ปก (blnding / cover


1.3 สันหนังสือ (spine)


1.4 ใบติดปก (end paper)



2. ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)


2.1 ใบรองปก (fly leave)


2.2 หน้าชื่อเรื่อง (half title page)


2.3 หน้าภาพนำ (frontispiece)


2.4 หน้าปกใน (title page)


2.5 หน้าลิขสิทธิ์ (copyright page)


2.6 หน้าคำอุทิศ (dedication page)


2.7 หน้าคำนำ (preface)


2.8 หน้าบทนำ (introduction)


2.9 หน้าสารบัญ (table of contents)


2.10 หน้าสารบัญภาพ แผนที่ และตาราง (list of illustrations, maps and tables)



3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text or body of the book)


3.1 เนื้อหา (text / body of the book)


3.2 การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หรือการอ้างอิงระบบนามปี (parenthetical references)


3.3 เชิงอรรถ(การอ้างอิงท้ายหน้า)



4. ส่วนประกอบตอนท้าย (auxiliary materials)


4.1 ภาคผนวก (appendix)


4.2 อภิธานศัพท์ (glossary)


4.3 บรรณานุกรม (bibliography)


4.4 ดรรชนี หรือ บัญชีค้นคำ (index)


กิจกรรมที่ 5 การปรับแต่งตัวอักษรแบบ Type on Path

แนวคิด

"Path" คือเส้นตรงและเส้นโค้งที่เชื่อมต่อกันระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อให้มีรูปร่างตามความต้องการ (เรียกว่าเส้น Path) และยังสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง


1.ประโยชน์ของเส้นพาธ


-ช่วยในการสร้างรูปร่างต่าง ๆ ได้ตามต้องการ


2. สามารถปรับแต่งตัวอักษรแบบ Type on Path ได้

การสร้างตัวหนังสือให้วิ่งไปตามเส้น path


1. เลือกเครื่องมือที่เราจะใช้ทำเส้น path ก่อน โดยเราจะใช้ pen tool เป็นตัวเขียนเส้น path มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ พอเลือกเครื่องมือเสร็จเราก็มาเลือก fill ให้เป็น none ก่อนแล้วเลือกสีให้เส้น stroke เพื่อที่เราจะได้สร้างเส้นขึ้นมาและแก้ไขมันได้ก่อนที่เราจะนำตัวหนังสือมาเขียนใส่





2. ขั้นตอนต่อไปเราก็ใช้ pen tool สร้างเส้น path ขึ้นมา ตามที่เราต้องการโดยที่ต้องการให้เส้น path โค้งก็ให้คลิ้ก mouse ซ้ายค้างไว้หลังจากคลิ้ก mouse สร้างจุดขึ้นมาแล้วลาก mouse ให้เกิดความโค้งตามที่เราต้องการ


3.เมื่อเราสร้างเส้น path เสร็จแล้ว ( ตามที่เราต้องการและเหมาะสมกับข้อความที่เราจะใส่)

4. ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือใส่ ต้องใช้เครื่องมือ Type Tool โดยเลือก Path Type Tool มาใช้ โดยที่กด mouse ที่ค้างไว้ Type Tool จะปรากฏเครื่องมือของ Type Tool เพิ่มขึ้นมา แล้วเลือก Path Type Tool 5. ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือลงให้ นำ mouse ไปคลิ้กที่ปลายเส้น path ที่เราสร้างขึ้น เราก็จะสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปได้
6. เริ่มพิมพ์ข้อความได้ ผมใช้ข้อความว่า http://www.designparty.com/

7. เสร็จแล้วเลือกสีตามที่เราต้องการก็จะ ได้ตัวหนังสือ ที่มีลักษณะตาม path ที่เราสร้างขึ้น



วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม Ask Media ในการแก้ไขและตัดคำของพยัญชนะหรือข้อความ

วันอังคารที่ 26 เมษายน 2554
1.สระลอย คือ อะไร


เป็นสระที่อยู่กว่าพยัญชนะ หรือลอยสูงกว่าสระปกติ
ในภาษาบาลี - สันสกฤต หรือภาษาเขมรนั้นจะมีรูปสระที่ใช้กัน ๒ แบบคือ
สระจมหมายถึงสระที่ใช้ประสมกับพยัญชนะ ส่วนในสระลอยไม่ต้องประสมพยัญชนะ ส่วนในสระลอยไม่ต้องประสมพยัญชนะ จะมีสระลอยก็เฉพาะที่ยืมมาจากภาษาบาลี - สันสกฤต สระลอยของไทยมีอยู่ ๒ พวก คือ
- ที่มีรูปเฉพาะตัว ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา
- รูปที่มีตัว อ เป็นทุ่นเกาะยึด อา อี เอ โอ ไอ


2.สระลอย มีผลกระทบกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างไร
ทำให้ข้อความไม่สวย ทำให้วรรณยุกต์อยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสม


3.โปรแกรมที่ใช้ในการแก้สระลอยชื่อโปรแกรมอะไร สามารถใช้งานได้อย่างไร
โปรแกรม เอเอสเค สแควร์ สามารถใช้งานได้ดังนี้ คือ
-ไฟล์งานที่ถูกแก้สระลอยหรือตัดคำด้วยโปรแกรม เอเอสเค สแควร์สามารถนำไปเปิดกับเครื่องที่ไม่มีโปรแกรม เอเอสเค สแควร์ได้โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดเพราะโปรแกรม เอเอสเค สแควร์ใช้วิธีพิเศษในการแก้ไขปัญหาสระลอยและตัดคำ แต่อย่าลืมว่าเครื่องที่จะเปิดไฟล์ดังกล่าวจำเป็นต้องมีฟอนต์ ASK-Display ด้วย(ฟอนต์แจกฟรีมาพร้อมกับโปรแกรม)
-ปัญหาวรรณยุกต์ลอยหรือสระลอย เป็นปัญหาที่ทำให้คนทำกราฟิกทำงานลำบาก แต่ด้วยความสามารถของ เอเอสเค สแควร์ สามารถแก้สระลอยขณะพิมพ์หรือแก้สระลอยของประโยคที่พิมพ์ไปแล้ว ด้วยการคลิกเพียงแค่ครั้งเดียว
-เอเอสเค สแควร์ สามารถแปลงตัวหนังสือที่อ่านไม่ออกเมื่อเปลี่ยนฟอนต์ ให้เป็นปกติได้และแก้ภาษาต่างดาวอัตโนมัติ ในกรณีที่ Copy ข้อความจากที่อื่นมา Paste ในโปรแกรมกราฟิกที่ใช้อยู่หรือจากการเปลี่ยนฟอนต์สลับไปมา
-ระบบตัดคำภาษาไทย ให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อการจัดหน้าหนังสืออย่างรวดเร็วใน Adobe InDesign 1.5, 2.0, CS, CS2, CS3, CS4
-ด้วยความสามารถของเอเอสเค สแควร์ ยังสามารถที่จะพิมพ์ภาษาไทยด้วยฟอนต์เดิม ๆ (non-unicode font) ได้ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS2, CS3, CS4 และ Adobe Illustrator CS, CS2, CS3, CS4
-ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS ไม่สามารถพิมพ์ตัวอักษร ญ ได้ แต่เอเอสเค สแควร์สามารถทำให้พิมพ์ ญ ใน Adobe Photoshop CS ได้เพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้น

แหล่งข้อมุล : http://www.askmedia.co.th/it/square.php

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4 โปรแกรมในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

โปรแกรมที่ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ Adobe Indesign

ประโยชน์ของโปรแกรม AdobeInDesign


1.โปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ 1 หน้าขึ้นไป
2.ใช้ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ
3.ใช้เป็นโปรแกรมจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์


จุดเด่นของโปรแกรม Indesign


-สามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆ กับการนำเอาโปรแกรม PageMaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator

-ระบบการทำงานของโปรแกรม InDesign นั้น ไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator

-ส่วนข้อความสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word แล้วจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆใน InDesign เสร็จแล้วจึง Export ไฟล์งาน เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ต่อไป


สิ่งที่ควรรู้ก่อนการใช้โปรแกรม


1.โหมดสี (Color Mode)

-โหมด RGB (Red, Green, Blue) ประกอบด้วยสีสามสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน

-โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, black) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ

-โหมดขาวดำ (Grayscale) โหมดนี้จะมีเพียงสองสีคือ สีขาวและสีดำ

2.ประเภทของไฟล์ (Format Type)

-ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "bitmap" ซึ่งเกิดจากการนำเอาจุดสีเล็กๆ หลายๆ จุดมารวมกันเพื่อให้เกิดภาพ มีนามสกุล อาทิ เช่นBMP, TIFF GIT, JPG, PSD, PNG, PFD

-ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based คือไฟล์กราฟฟิคที่เกิดจากการ ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดภาพ หรือเราจะเรียกไฟล์ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ไฟล์ประเภท "postscript“ มีนามสกุลอาทิ เช่น EPS, AI


3.ขนาดกระดาษ (Size paper)





4.ฟอนต์ (Font)
ฟอนต์ คือ ชุดแบบตัวพิมพ์ อาจแบ่งฟอนต์ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ฟอนต์เข้ารหัส และฟอนต์ฟอร์แมต
-ฟอนต์เข้ารหัส

-ฟอนต์ฟอร์แมต


แนะนําโปรแกรม InDesign CS3


-Menu Bar หรือ เมนู เป็นชุดเครื่องมือและคําสั่งทุกอย่าง รวบรวมเอาไว้ที่นี่ เช่นการเปิด/ปิดโปรแกรม การเลือก Font เป็นต้น

-Control Bar หรือ แถบควบคุม เป็นส่วนควบคุมการทํางานที่กําลังดําเนินการอยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะทํางานกับ Font Layout Object เป็นต้น
-Tools Box เปรียบเหมือนกล่องเครื่องมือที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์

-Palettes เป็นแถบเครื่องมือปลีกย่อยต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้คําสั่งที่ต้องการได้จากที่นี่ หรือสามารถย้ายและลบเครื่องมือ/คําสั่ง ที่ต้องการเอามาที่นี่ได้


พื้นฐานการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์


บรรทัดฐานในการออกแบบ 3 ข้อ ดังนี้

1. การตอบสนองประโยชน์การใช้สอย เช่น

1.1 งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจน
1.2 งานออกแบบเว็บไซต์ ถึงจะสวยอย่างไร แต่ถ้าโหลดช้า ทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็นับว่าเป็นงานออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่ดี

1.3 งานออกแบบ CAI ถ้าปุ่มวางกระจัดกระจาย ผู้ใช้หลงทางก็ไม่เป็นการออกแบบที่ดี

2 .ความสวยงามความพึงพอใจ

3. การสื่อความหมาย


บรรทัดฐานในการออกแบบ



กระบวนการทำงานออกแบบกราฟิก


1. วิเคราะห์โจทย์ที่มาให้สร้างผลงาน ซึ่งได้แก่

1.1 What เราจะทำงานอะไร กำหนดเป้าหมายที่จะทำ เช่น เผยแพร่

1.2 Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน

1.3 Who ใครเป็นคนที่มาใช้งานเรา เช่น โปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่

1.4 How จะทำงานชิ้นนี้อย่างไร

2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบให้ได้ (Concept)

3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว

4. ออกแบบร่าง

5. ออกแบบจริง



การออกแบบและสื่อความหมาย



ลักษณะของเส้น


1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง

2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง

4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง

5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล

6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด

7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด


ความรู้สึกของรูปร่างรูปทรง


1.วงกลม ให้ความรู้สึกเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมจุดความสนใจ
2. สี่เหลี่ยม ให้ความรู้สึกสงบ มั่นคง เป็นระเบียบ

3. สามเหลี่ยม ทิศทาง เฉียบคม

4. หกเหลี่ยม ให้ความรูสึกความเชื่อมโยง การเป็นหน่วยย่อย

5. รูปร่างธรรมชาติ อิสระ การเลื่อนไหล

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 โปสเตอร์



โปสเตอร์ (Poster) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ผู้จัดทำ ใช้ติดตามสถานที่ต่างๆ ในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอเพียงแนวความคิดเดียวเป็นหลักใหญ่


ประโยชน์ของโปสเตอร์
1. โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์
2. เพื่อใช้ในการศึกษานำเสนอสาระใดสารหนึ่ง
3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ
4. นำเสนอผลงานทางวิชาการ


ลักษณะของโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล
8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น


หลักการออกแบบโปสเตอร์
1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป
3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ
4. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.
5. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา


ประเภทของกระดาษในงานสื่อสิ่งพิมพ์
กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก



กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น



กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้



กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์



กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน



กระดาษเหนียว (Kraft Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ



กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง



กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ



กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ



กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์



กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2

จากกิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 อาจารย์ได้มีการสอนในเรื่องของ Adobe Photoshop และได้ให้มีการสอนในเรื่องของการทำนามบัตรของตนเอง และออกแบบนามบัตรของตนเอง



การออกแบบนามบัตรของข้าพเจ้าเอง

ซึ่งในการทำนามบัตรนั้นจะต้องมีชื่อของเรา หรือชื่อหน่วยงาน และที่อยู่ที่สามารถที่จะติดต่อได้ และในการออกแบบควรที่จะออกแบบก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ โดยควรกำหนดส่วนประกอบต่างๆในนามบัตรให้เหมาะสมกับนามบัตรนั้นๆ ซึ่งในการออกแบบนามบัตรนั้นก็จะใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการออกแบบนามบัตร ซึ่งในโปรแกรมนี้จะมีอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆที่ช่วยในการออกแบบงานต่างๆ โดยรวมทั้งการออกแบบนามบัตรด้วย

หลักในการออกแบบนามบัตร


1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง

2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป

3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ

4. ตัวอักษรไม่ควรเกิน 2-3 ชนิดใน 1 นามบัตร

5. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.

6. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา


ความคิดเห็นในการเรียนกิจกรรมสัปดาห์ที่ 2

จากที่ข้าพเจ้าได้เรียนกิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบในการสร้างและออกแบบการทำนามบัตรของตนเอง โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการทำ และยังทำให้ได้ทราบถึงการใช้โปรแกรมนี้ได้มากขึ้นอีกด้วย

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 1 เปิดโลกการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

วันที่ 29 มีนาคม 2554

ประเด็นในการนำเสนอได้แก่

1.สิ่งที่ใฝ่ฝันที่สุดในชีวิต อย่างน้อย 5 บรรทัด
สำหรับสิ่งที่ใฝ่ฝันที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้าคือ ข้าพเจ้าอยากมีอาชีพที่เป้นอิสระ และมีรายได้นั้นๆจากอาชีพที่ได้ทำ และสิ่งที่ใฝ่ฝันอีกก็คือการได้ไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และสิ่งที่ใฝ่ฝันอีกก็คือการมีบ้านหลังใหญ่ มีสัตว์เลี้ยง และมีครอบครัวที่มีความเข้าใจในตัวเรา และสิ่งที่ใฝ่ฝันอีกก็คือ การมีชีวิตที่อิสระ ไม่ต้องทำให้ใครเดือดร้อน ทำอะไรตามใจตนเองได้ และสิ่งที่ใฝ่ฝันอีกก็คือ การได้ไปดูศิลปินที่ตนเองชอบ และสิ่งที่ใฝ่ฝันที่อยากจะทำก็คือการได้แต่งตัวเป็นตัวการ์ตูน และอีกอย่างก็คือ การเป็นคนที่ดีของครอบครัว และสังคมของเราเอง

2.สื่อสิ่งพิมพ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก มีวารสาร,นิตยสาร จุลสาร โบร์ชัวร์ ใบปลิว แผ่นพับ ใบปิด และหนังสื่อพิมพ์ 3.ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 3 แหล่ง พร้อมภาพประกอบใน Webblog
-สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ได้แก่ หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน หนังสือบันเทิงคดี



-สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จุลสาร สิ่งพิมพ์โฆษณา ซึ่งก็จะมีจำพวกใบปลิว โบว์ชัวร์ แผ่นพับ เป็นต้น



-สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง



-สิ่งพิมพ์มีค่า เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น



-สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น



-สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น



4.สื่อสิ่งพิมพ์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะอะไร
เพราะสื่อสิ่งพิมพ์เป็นช่องทางหนึ่งในการถ่ายทอดเนื้อหาระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสารเช่นเดียวกับการศึกษาซึ่งการศึกษานั้นจะต้องมีสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ดังนั้นสื่อสิ่งพิมพ์จึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาในเรื่องของการส่งสารและรับสาร

5.กิจกรรมและความคิดเห็นเกี่ยวกับรายวิชาในครั้งแรก
สำหรับกิจกรรมและรายวิชา 423333 นี้ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงในการสร้างบล็อกของตนเอง มีการส่งงานทางเว็บ ซึ่งสามารถทำให้เรารู้ในเรื่องที่เรียนมากขึ้น

อ้างอิงจาก : http://http//www.nayoktech.ac.th/~vwinwin/BC22_49/DasignP.htm


http://http//suebwongsaeng.blogspot.com/2010_01_01_archive.html


http://http//www.siamshop.com/product-1602995


http://http//learners.in.th/blog/sawitta5301/318804


http://http//www.sadung.com/?p=1191

http://http//www.sipa.or.th/index.php?option=com_hilight&task=detail&id=67&Itemid=67