วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4 โปรแกรมในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

โปรแกรมที่ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ Adobe Indesign

ประโยชน์ของโปรแกรม AdobeInDesign


1.โปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ 1 หน้าขึ้นไป
2.ใช้ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ
3.ใช้เป็นโปรแกรมจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์


จุดเด่นของโปรแกรม Indesign


-สามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆ กับการนำเอาโปรแกรม PageMaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator

-ระบบการทำงานของโปรแกรม InDesign นั้น ไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator

-ส่วนข้อความสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word แล้วจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆใน InDesign เสร็จแล้วจึง Export ไฟล์งาน เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ต่อไป


สิ่งที่ควรรู้ก่อนการใช้โปรแกรม


1.โหมดสี (Color Mode)

-โหมด RGB (Red, Green, Blue) ประกอบด้วยสีสามสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน

-โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, black) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ

-โหมดขาวดำ (Grayscale) โหมดนี้จะมีเพียงสองสีคือ สีขาวและสีดำ

2.ประเภทของไฟล์ (Format Type)

-ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "bitmap" ซึ่งเกิดจากการนำเอาจุดสีเล็กๆ หลายๆ จุดมารวมกันเพื่อให้เกิดภาพ มีนามสกุล อาทิ เช่นBMP, TIFF GIT, JPG, PSD, PNG, PFD

-ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based คือไฟล์กราฟฟิคที่เกิดจากการ ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดภาพ หรือเราจะเรียกไฟล์ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ไฟล์ประเภท "postscript“ มีนามสกุลอาทิ เช่น EPS, AI


3.ขนาดกระดาษ (Size paper)





4.ฟอนต์ (Font)
ฟอนต์ คือ ชุดแบบตัวพิมพ์ อาจแบ่งฟอนต์ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ฟอนต์เข้ารหัส และฟอนต์ฟอร์แมต
-ฟอนต์เข้ารหัส

-ฟอนต์ฟอร์แมต


แนะนําโปรแกรม InDesign CS3


-Menu Bar หรือ เมนู เป็นชุดเครื่องมือและคําสั่งทุกอย่าง รวบรวมเอาไว้ที่นี่ เช่นการเปิด/ปิดโปรแกรม การเลือก Font เป็นต้น

-Control Bar หรือ แถบควบคุม เป็นส่วนควบคุมการทํางานที่กําลังดําเนินการอยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะทํางานกับ Font Layout Object เป็นต้น
-Tools Box เปรียบเหมือนกล่องเครื่องมือที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์

-Palettes เป็นแถบเครื่องมือปลีกย่อยต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้คําสั่งที่ต้องการได้จากที่นี่ หรือสามารถย้ายและลบเครื่องมือ/คําสั่ง ที่ต้องการเอามาที่นี่ได้


พื้นฐานการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์


บรรทัดฐานในการออกแบบ 3 ข้อ ดังนี้

1. การตอบสนองประโยชน์การใช้สอย เช่น

1.1 งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจน
1.2 งานออกแบบเว็บไซต์ ถึงจะสวยอย่างไร แต่ถ้าโหลดช้า ทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็นับว่าเป็นงานออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่ดี

1.3 งานออกแบบ CAI ถ้าปุ่มวางกระจัดกระจาย ผู้ใช้หลงทางก็ไม่เป็นการออกแบบที่ดี

2 .ความสวยงามความพึงพอใจ

3. การสื่อความหมาย


บรรทัดฐานในการออกแบบ



กระบวนการทำงานออกแบบกราฟิก


1. วิเคราะห์โจทย์ที่มาให้สร้างผลงาน ซึ่งได้แก่

1.1 What เราจะทำงานอะไร กำหนดเป้าหมายที่จะทำ เช่น เผยแพร่

1.2 Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน

1.3 Who ใครเป็นคนที่มาใช้งานเรา เช่น โปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่

1.4 How จะทำงานชิ้นนี้อย่างไร

2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบให้ได้ (Concept)

3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว

4. ออกแบบร่าง

5. ออกแบบจริง



การออกแบบและสื่อความหมาย



ลักษณะของเส้น


1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง

2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง

4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง

5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล

6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด

7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด


ความรู้สึกของรูปร่างรูปทรง


1.วงกลม ให้ความรู้สึกเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมจุดความสนใจ
2. สี่เหลี่ยม ให้ความรู้สึกสงบ มั่นคง เป็นระเบียบ

3. สามเหลี่ยม ทิศทาง เฉียบคม

4. หกเหลี่ยม ให้ความรูสึกความเชื่อมโยง การเป็นหน่วยย่อย

5. รูปร่างธรรมชาติ อิสระ การเลื่อนไหล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น