วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Marry U-Super Junior

กิจกรรมที่ 11 แนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา

แนวคิด
ในโลกสังคมแห่งการสื่อสารส่งผลกระทบให้เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมแห่งขอมูลข่าวสาร ดังนั้นการศึกษาจึงได้พัฒนาก้าวหน้าตาสสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่
สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1.การเรียนการสอนในระบบ
การสอนในระบบ (formal education)หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ โดยครูจะนำเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
2.สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
การสอนนอกระบบ(informal education)หมายถึง การที่เทคโนโลยีมีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือ การเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขว้างโดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย ซึ่งผู้สร้างหลักสูตรต้องจำเป็นต้องคัดเลือกเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมในการจัดการ้รียนการสอนไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม โทรทัศน์เพื่อการสื่อสาร วิทยุเพื่อการศึกษา สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพพ์ เป็นต้น
3.สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
การสอนตามอัธยาศัย(nonformal education)การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่างๆที่มีความจำกัดบางอย่าง โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ให้การเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น จากพระราชบัญญัติการศึกษาปีพ.ศ.2542 จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน
และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา ซึ่งแน่นอนการนำเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้ น่าจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตจะผูกติดกับพระราชบัญญัติการศึกษา และนับวันจะมีบทบาทยิ่งขึ้น ดังจะพบว่าพระราชบัญญิติการศึกษาให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยีการศึกษา โดยกำหนดไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ระบุไว้
2.เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
-e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือสัญญาณโทรทัศน์ เป็นต้น
-M-Learning หมายถึง การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่(mobile learning)เป็นการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์แวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายแบบไร้สาย ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา
-U-Learning(Ubiquitous Learning)หมายถึง กระบวนการบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับ Physical World อย่างไร้ขอบเขต เช่น เทคโนโลยีการสืบค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ ผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น
-Ubiquitous Learning คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูปที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการประมวลผลแบบไร้ขอบเขต ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา
-Hybrid Learning คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน(Face-to-Face)กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุดของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
-Adaptive Learning คือ การเรียนรู้แบบปรับเหมาะ หรือการเรียนรู้ด้วยการปรับตัวเป็นรูปแบบวิธีการเรียนรู้ที่เน้นความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับการฝึกฝนหรือประสบการณ์ของผู้เรียน
-Video on Demand คือ ระบบการเรียกดูวิดิทัศน์ตามสั่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูวิดีทัศน์หรือข้อมมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ
-สถานีวิทยุออนไลน์ คือ การให้บริการ Streaming Audio หรือการแพร่กระจายสัญญาณผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยที่เราสามารถจัดผังรายการได้เองตามที่ต้องการ ซึ่งจะมีรูปแบบการจัดรายการคล้ายๆกับสถานีวิทยุปกติ
3.เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานการศึกษาพิเศษ ได้มีงานวิจัยหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ ซึ่งจะมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่ช่วยให้คนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส เช่น ผลิตภัณฑ์ของช่างไม้ที่ช่วยให้คนตาบอดมองเห็นเพียงบางส่วนสามารถรู้ทางเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือคากคนอื่น อุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งสัญญาณที่มีลักษณะเสียงต่างๆกัน ซึ่งสัญญารณเหล่านี้จะช่วยให้คนตาบอดรู้ทางเดินได้ สำนักงานการศึกษาพิเศษได้พัฒนาวิธีการและเครื่องมือใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆเพิ่มขึ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจอย่างยิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 10 กฎหมายทางเทคโนโลยีทางการศึกษา

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)

พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

จุดประสงค์

1.ทำความเข้าใจกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT

2.สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3.สามารถปกป้องสิทธิ์ของตน

4.เพื่อประโยชน์ในการอื่นๆ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

-พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

-พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

1.กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ

2.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์

-ทำซ้ำหรือดัดแปลง

-เผยแพร่ต่อสาธารณชน

-ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

บทกำหนดโทษ

-ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

“เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว”

กิจกรรมที่ 9 การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

การวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบเขตของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

ทิศทางการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดความท้าทายจากวิทยาการที่เปลี่ยนไป
2. ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
3. แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาสมัยใหม่

ลักษณะการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. เป็นการวิจัยที่นำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาจากแหล่งอื่นในสภาพการณ์ต่างที่ต่างกันเพื่อมาทดลองในที่ใหม่ สภาพการณ์ใหม่2. เป็นการวิจัยที่ดัดแปลง ขยายหรือเสริมแต่งความคิดและวิธีการเดิมแล้วนำมาทดลอง เพื่อดูว่าใช้ได้ผลในขณะนี้หรือไม่ เพียงใด
3. เป็นการวิจัยที่จะฟื้นฟูสิ่งที่เคยทำไว้ก่อนแล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
4. เป็นการวิจัยที่มีสภาพการณ์ใหม่ ซึ่งในอดีตไม่ปัจจัยต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย
5. เป็นการวิจัยในสิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น ระบบมัลติมีเดีย, Web-based Learning, E-learning และ Virtual Classroom
2. การวิจัยด้านการออกแบบการสอน หรือ Instructional Design ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของการเรียนที่เปลี่ยนแปลง เช่น การออกแบบการสอนแบบต่าง ๆ การใช้ยุทธวิธีการสอน การฝึกทักษะ และการใช้ Presentation Technologies

3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา เช่นการสอนและการสอบผ่านเครือข่าย Internet การสร้างบทเรียนและเรียนบนเครือข่าย Internetรวมทั้งระบบสารสนเทศอื่น ๆเช่นระบบ Transaction Processing System, Management Information System, Decision Support System เป็นต้น

4. ด้านการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี หรือ Leadership in Technology และการสนับสนุนเงินทุนทางด้านการใช้เทคโนโลยี หรือ Funding for Technology

กิจกรรมที่ 8 นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new) Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
-การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
-แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-เครื่องสอน (Teaching Machine)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้
-ศูนย์การเรียน (Learning Center)
-การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
-มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
-แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
-มหาวิทยาลัยเปิด
-การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
-ชุดการเรียน

กิจกรรมที่ 7 จิตวิทยาเกี่ยวกับการสร้างสื่อ

ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้


1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแเป้นทฤษฎ๊ที่เชื่อว่า เป็นเสมือนการศึกษาวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์โดยสามารถสังเกตุได้จากพฤติกรรมภายนอก และภายใน นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และยังเชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงการกระทำซึ่งมีการเสริมแรงเป็นตัวกลาง และถ้าเป็นพฤติกรรมภายในของมนุษย์ก็จะเป็นความรู้สึก ภาพ ความทรงจำ การที่ผู้เรียนจะบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีการเรียนตามขั้นตอน ผลที่ได้จะดีในที่สุด สำหรับสื่อมัลติมีเดียที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีนี้จะเป็นโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรงโดยแนวคิดทฤษฎีนี้จะบังคับให้ผู้เรียนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ี่กำหนดไว้ก่อน จึงจะผ่านไปยังวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หากไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดผู้เรียนต้องกลับไปเรียนเนื้อหาเดิมอีกจนกว่าจะผ่านการประเมิน


2.ทฤษฎีปัญญานิยม เกิดจากแนวคิดของซอมสกี้ ซึ่งว่าด้วยพฤติกรรมภายในของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นความนึกคิด อารมณ์ จิตใจ และความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ


-ความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน


-ความรู้ในลักษณะการอธิบาย


-ความรู้ในลักษณะเป็นเงื่อนไข


ซึ่งทฤษฎีนี้จะส่งผลต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ทฤษฎ๊นี้ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะสาขา ซึ่งแนวคิดนี้จะทำให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้นในการควบคุมการเรียนตนเอง และเลือกลำดับการนำเสนอทีเหมาะสมกับตนเอง แต่ผู้เรียนอาจจะได้รับเนื้อหาที่ไม่เหมือนกันโดยขึ้นอยุ่กับความถนัด ความสามารถ ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ


3.ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ภายในโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่เชื่อมโยงกันในการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้เพราะการรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยโอนความรู้ใหม่กับความรู้เดิม นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยรับรู้และเรียนรู้แล้วนั้น ยังช่วยนึกถึงสิ่งต่างๆที่ได้เรียนรู้มา


ดังนั้้นในการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาจึงจำเป็นต้องนำแนวคิดจากทฤษฎีต่างๆมาผสมผสานกัน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สื่่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และตอบสนองลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ของสาขาวิชาต่างๆ ที่แตกต่างกันนั่นเอง


พื้นฐานทางจิตวิทยา


1.การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม ซึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม สิ่งต่างๆที่สามารถจัดไว้เป็นกลุ่มในการจำแนกและการนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดในเรื่องนั้นๆเข้าด้วยกันเกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ ความเข้าใจในลักษณะนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งต่อๆไป

2.การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยนักจิตวิทยาเชื่อกันว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ

-แรงขับ หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน

-สิ่งเร้า อาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครู หรือจากแหล่งการเรียนรู้

-การตอบสนอง เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
-การเสริมแรง เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม(ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interptretation) ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเอง
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
การนำทฤษฎีการสร้างความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายประการดังนี้
-การสร้างความรู้ ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
-เป้าหมายของการสอน จะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย การเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ
-การเรียนการสอน ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่าง ๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง
-การจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคม จริยธรรม ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสเรียนรู้ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งทางสังคมถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้เพราะลำพังกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายที่ครูจัดให้หรือผู้เรียนแสวงหามาเพื่อการเรียนรู้ไม่เป็นการเพียงพอ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และบุคคลอื่น ๆ จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น ซับซ้อนขึ้น และหลากหลายขึ้น
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยาสังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 6 ศีลปะกับงานเทคโนโลยี

การใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและความสนใจของผู้ชม และผู้ออกแบบยังพิจารณาจากจุดมุ่งหมายต้องการสร้างความรู้สึกต่อผู้ดู และการเลือกใช้สีให้เหมาะสม
ความหมายและความรู้สึกต่อสี
-สีร้อนหรือสีอบอุ่น ได้แก่ สีเหลือง ชมพู แดง ส้ม ม่วง น้ำตาล ให้ความรู้สึกก้าวร้าว รื่นเริง สดชื่น ดังนั้นจึงมีอิทธิพลต่อการดึงดูดความสนใจต่อผู้ดู
-สีเย็น ได้แก่ สีเทา ฟ้า น้ำเงิน เขียว ให้ความรู้สึกสงบ เย็น สะอาด
-สีขาว สะอาด ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา
-สีดำ สัญลักษณ์แห่งความหดหู่ เศร้าโศก ความตาย แต่ในความหมายของชาวยุโรปนั้นอาจหมายถึง ผู้ดี ครึม มั่นคง และยังหมายถึงความเป็นอมตะ ความเป็นนิรันดร์อีกด้วย
-สีแดง สีแห่งความกระตือรือล้น มีพลัง ดึงดูดความสนใจ จะแทนสัญลักษณ์แสดงถึงความมีอันตราย ความร้อน
-สีเหลือง สีแห่งความสุข สดชื่น ร่าเริงมีชีวิตชีวา ใช้แทนความหมายแห่งความหวัง หรือความระมัดระวัง
-สีเขียว สีของต้นไม้ใบหญ้า ให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ เรียบง่าย และความอุดมสมบูรณ์
-สีฟ้า สีแห่งท้องฟ้าและน้ำทะเล ให้ความสงบ เยือกเย็น มั่งคั้ง ให้ความรู้สึกสดชื่น สวยงาม
-สีม่วง มีความลึกลับ ซ่อนเร้น มีอิทธิพลต่อจินตนาการของเด็ก เช่น เทพนิยาย
-สีน้ำตาล เป็นสีแห่งความร่วงโรย และเป็นสีที่ให้ความหมายเหมือนธรรมชาติ
-สีแจ๊ด สีที่สะดุดตาเร็ว เมื่อมองเห็นไกลๆ โทนสีจะตัดกันแบบตรงข้าม เช่น แดงกับดำ เหลืองกับน้ำเงิน เป็นต้น
-สีทึม คือสีอ่อนที่ค่อนข้างเข้ม หรือสีเข้มที่จางลง ให้ความรู้สึกสลัว มัว เหมือนฝัน คลายเครียด
-สีจาง หรือสีอ่อน ให้ความอ่อนโยน เบาหวิวเหมือนปุยฝ้าย
-สีมืดทึบ ให้ความรู้สึกหนัก แข็งแกร่ง เข้ม มีพลัง เป็นต้น
กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึกต่างกัน
1.กลุ่มที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ ได้แก่ สีเหลือง ดำ แดง แสด
2.กลุ่มสีที่แสดงความเป็นผู้หญิง ได้แก่ ชมพู ฟ้า เหลืองอ่อน เขียวอ่อน
3.กลุ่มสีที่แสดงความเป็นผู้ชาย ได้แก้ สีดำ น้ำเงิน เทา แดง
4.กลุ่มที่เน้นความสด จะออกแบบในรูปแบบของสินค้าเช่น อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น เช่น สีเหลือง เขียวเหลือง น้ำเงิน
5.กลุ่มที่แสดงถึงสุขภาพ เช่น อาหารเสริม ยา ได้แก่ สีเหลือง น้ำตาล เขียว
6.กลุ่มที่แสงถึงความสั่นสะเทือน เคลื่อนไหว ได้แก่ สีน้ำเงิน แดง เหลือง เขียว
7.กลุ่มที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ ได้แก่ สีดำ เหลือง น้ำตาล ทอง
สรุป
ดังนั้นการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ดีควรมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การผลิตสื่อพิมพ์ และงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละชนิดต้องเป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของนักออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการและวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด โดยอาจอาศัยหลักการออกแบบต่างๆ เช่น องค์ประกอบทางศิลปะ ทฤษฎีสี มาประกอบเป็นความสวยงามที่สามารถสื่อสารความหมายที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5 การไปศึกษาค้นคว้าความรู้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

จากที่ได้ทำกิจกรรมนี้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกก็คือ
-สามารถทำให้ทราบถึงความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำมากขึ้น
-ทำให้ทราบถึงสือการเรียนการสอนในการศึกษาในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
-เราสามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
-ได้ทราบถึงสื่อต่างๆที่เกิดจากประสบการณ์จริง
-ได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อต่างๆที่ใช้ในการศึกษา
-ทำให้เรามีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นจากการไปศึกษานอกห้องเรียน
-ทำให้ทราบถึงสื่อในการเรียนการสอนนั้นมีอะไรบ้าง
-สามารถทำให้เรามีความสุขจากการศึกษานอกสถานที่
ซึ่งจากกิจกรรมที่ 5 นี้เราสามารถนำสื่อต่างๆไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และในการเรียนการสอนนั้นก็สามารถนำสื่อต่างๆเหล่านี้ไปปรับใช้ในการนำเสนองาน หรือการทำงานอย่างอื่นก็ได้

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 ความรู้สึกในการเรียนการสอนขององค์ประกอบการสื่อสาร

ความรู้สึกที่ได้จากกิจกรรมที่4ที่ได้ปฏิบัติในวันนี้ก็คือ
-ได้เข้าใจในเรื่องของe-Learningมากขึ้น
-ได้ทราบถึงองค์ประกอบของการสื่อสารในปัจจุบัน
-ทำให้เราสามารถส่งงานได้อย่างรวดเร็ว
-ทำให้เราสามารถส่งงานได้โดยที่ไม่ต้องมานั่งทำแบบฝึกหัดข้างนอก แต่สามารถทำงานเสร็จแล้วเราก็ส่งงานได้เลย
-ทำให้เราเข้าใจในเรื่องขององค์ประกอบการสื่อสารมากขึ้น
-ได้เห็นถึงการสอดคล้องขององค์ประกอบการสื่อสารทั้งทฤษฎี และความเป็นจริงว่ามีความสอดคล้อง
-มีความรู้สึกดีใจที่ได้ศึกษาในเรื่องขององค์ประกอบการสื่อสาร และการใช้e-Learning
-มีความรู้สึกชอบที่ได้เรียนกิจกรรมในวันนี้เพราะได้รู้ถึงองค์ประกอบการสื่อสารมากขึ้น และยังสอดคล้องกันในชีวิตประจำวันอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาสมองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก

Weblong หมายถึง เป็นเว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึก การฝากข้อมูลการแสดงความคิดเห็น รูปภาพ เพลง วีดีโอ หรือข้อมูลข่าวสารต่างๆ นานาฝากไว้บนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มโดยการสื่อสารความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้และข่าวสารในเรื่องที่ผู้เขียนสนใจ


ประโยชน์ของเว็บบล็อก

-สามารถบอกเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของบล็อกได้
-ทำให้เราสามารถทันข่าว ทันเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
-สามารถกลั่นกรองข้อมูลในบล็อกได้โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล
-สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นให้ผู้อื่นได้รับรู้ได้ในเชิงความคิดสร้างสรรค์
-เป็นเครื่องมือช่วยในด้านการค้าทางธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เสนอข่าว เป็นต้น
-เป็นสื่อที่ใช้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่อยากให้ผู้อื่นได้รับรู้
-เป็นแหล่งความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและชัดเจน
-สามารถส่งงานได้รวดเร็ว
-สามารถเก็บข้อมูลไว้ศึกษาได้ทีหลัง
-สามารถให้ผู้อื่นศึกษาต่อได้





ความหมายของนวัตกรรม


หมายถึง ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลมีประสิทธิภาพและประสิทธผลที่สูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้อีกด้วย



เป้าหมายของนวัตกรรม

-เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
-เพื่อขยายขอบเขตทางธุรกิจ
-เพื่อขยายขอบเขตคุณภาพของผลิตภัณฑ์
-เพื่อลดต้นทุนและวัตถุดิบในการผลิต
-เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต

http://www.library.dip.go.th/นวัตกรรม/www/inno1-03.html



ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ คือ

-รู้สึกดีที่ได้เรียนการทำweblongด้วยตนเอง
-มีความรู้สึกชอบเพราะว่าไม่ค่อยได้จดบันทึกมากนัก
-รู้สึกว่าจะทำให้เรามีความทันเหตุการณ์มากขึ้น
-รู้สึกว่าสนุกเพราะได้ทำงานที่ไม่หนักมากนัก
-มีความรู้สึกดีและสนุกเพราะได้ทำงานไปพร้อมๆกับผู้อื่น

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา






สาระแนะแนวคิดในการชมภาพยนตร์เรืองครูบ้านนอกบ้านหนองฮีใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นครูที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520สาระความรู้ที่ได้คือ


1. ทำให้ทราบปัญหาทางการศึกษา ได้แก่
-มีความยากจน
-มีความห่างไกล ถิ่นทุระกันดาน
-การขาดแคลนสื่อ
-การขาดแคลนบุคลากร
-มีผู้อิทธิพลอยู่ในชุมชน
-เทคโนโลยีเข้าไม่ถึง
-การคมนาคมไม่สะดวก
-การพนัน








2. ทำให้ทราบเทคโนโลยีการศึกษาในปีพ.ศ.2520 ได้แก่

-มีการใช้สื่อการเรียนรู้
-มีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
-มีการใช้บทเพลง
-มีการใช้กล้องถ่ายรูป
-มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติ
-มีการติดแผ่นแผนที่ประเทศไทยไว้ฝาผนัง
-มีการใช้สื่อบุคคล
-มีการใช้ภาพถ่าย
-มีการใช้เครื่องดนตรีเข้ามาช่วย ได้แก่ แคน กีต้าร์
-นักเรียนใช้กระดานชนวนในการจดบันทึก


เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำหลักทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมการเรียนการสอน ในลักษณะของวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ โดยเน้นที่วัตถุประสงค์การเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา และยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ


ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งได้แก่ การออกแบบ(design) การพัฒนา(development) การใช้(utilization) การจัดการ(management) และการประเมิน(evaluation) ซึ่งแต่กลุ่มจะโยงเข้าสู่ศุนย์กลางของทฤษฎีและปฏิบัติดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิยาศาสตร์และสังคมศึกษา เป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา


การพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา



กิจกรรมสัปดาห์ที่ 1 เปืดโลกหล้กทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้นคว้า IT


ในบทเรียนวิชา 423210 หลักและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาเป็นครั้งแรกข้าพเจ้ามีความตื่นเต้นและมีความคาดหวังดังนี้

1.สามารถทำให้เรามี่ความรู้เพิ่มเติมจากความรู้เดิมมากขึ้น

2.ทำให้เรามีแนวทางในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

3.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเป็นสื่อการเรียนการสอนได้

5.สามารถนำความรู้จากเทคโนโลยีการศึกษาไปพัฒนาในสื่อต่างๆได้

จากที่ข้าพเจ้าได้ไปเข้าใช้ที่สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพาข้าพเจ้าได้รู้จักการใช้ฐานข้อมูล การสืบค้น และการใช้บริการห้องสมุด ซึ่งสำนักหอสมุดจะมี7ชั้น

ชั้น1 เป็นศูนย์อาหาร

2 การสมัครสมาชิกห้องสมุด ยืม-คืนหนังสือ

3 หนังสือภาษาไทย นวนิยาย

4 วารสาร หนังสื่อพิมพ์

5 ยืมหนังสือ วิยานิพนธ์ สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

6 ยืม-คืนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ /สื่อโสตทัศน์

7 ขอเลขISBN และISSN

ซึ่งในการสืบค้นข้อมูลนั้นก็จะมีโปรแกรมvpn.buu.ac.thซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดตั้งของการสืบค้นข้อมูลของม.บูรพา

และในการค้นหาข้อมูลในหอสมุดยังมีการใช้e-learnningในการค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นการหาข้อมูลที่รวดเร็ว และถูกต้องอีกด้วย ซึ่งเราสามารถเข้าไปศึกษาค้นคว้าได้ที่ http://www.lib.buu.ac.th/