วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7 จิตวิทยาเกี่ยวกับการสร้างสื่อ

ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้


1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแเป้นทฤษฎ๊ที่เชื่อว่า เป็นเสมือนการศึกษาวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์โดยสามารถสังเกตุได้จากพฤติกรรมภายนอก และภายใน นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และยังเชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงการกระทำซึ่งมีการเสริมแรงเป็นตัวกลาง และถ้าเป็นพฤติกรรมภายในของมนุษย์ก็จะเป็นความรู้สึก ภาพ ความทรงจำ การที่ผู้เรียนจะบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีการเรียนตามขั้นตอน ผลที่ได้จะดีในที่สุด สำหรับสื่อมัลติมีเดียที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีนี้จะเป็นโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรงโดยแนวคิดทฤษฎีนี้จะบังคับให้ผู้เรียนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ี่กำหนดไว้ก่อน จึงจะผ่านไปยังวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หากไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดผู้เรียนต้องกลับไปเรียนเนื้อหาเดิมอีกจนกว่าจะผ่านการประเมิน


2.ทฤษฎีปัญญานิยม เกิดจากแนวคิดของซอมสกี้ ซึ่งว่าด้วยพฤติกรรมภายในของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นความนึกคิด อารมณ์ จิตใจ และความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ


-ความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน


-ความรู้ในลักษณะการอธิบาย


-ความรู้ในลักษณะเป็นเงื่อนไข


ซึ่งทฤษฎีนี้จะส่งผลต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ทฤษฎ๊นี้ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะสาขา ซึ่งแนวคิดนี้จะทำให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้นในการควบคุมการเรียนตนเอง และเลือกลำดับการนำเสนอทีเหมาะสมกับตนเอง แต่ผู้เรียนอาจจะได้รับเนื้อหาที่ไม่เหมือนกันโดยขึ้นอยุ่กับความถนัด ความสามารถ ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ


3.ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ภายในโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่เชื่อมโยงกันในการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้เพราะการรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยโอนความรู้ใหม่กับความรู้เดิม นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยรับรู้และเรียนรู้แล้วนั้น ยังช่วยนึกถึงสิ่งต่างๆที่ได้เรียนรู้มา


ดังนั้้นในการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาจึงจำเป็นต้องนำแนวคิดจากทฤษฎีต่างๆมาผสมผสานกัน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สื่่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และตอบสนองลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ของสาขาวิชาต่างๆ ที่แตกต่างกันนั่นเอง


พื้นฐานทางจิตวิทยา


1.การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม ซึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม สิ่งต่างๆที่สามารถจัดไว้เป็นกลุ่มในการจำแนกและการนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดในเรื่องนั้นๆเข้าด้วยกันเกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ ความเข้าใจในลักษณะนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งต่อๆไป

2.การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยนักจิตวิทยาเชื่อกันว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ

-แรงขับ หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน

-สิ่งเร้า อาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครู หรือจากแหล่งการเรียนรู้

-การตอบสนอง เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
-การเสริมแรง เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม(ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interptretation) ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเอง
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
การนำทฤษฎีการสร้างความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายประการดังนี้
-การสร้างความรู้ ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
-เป้าหมายของการสอน จะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย การเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ
-การเรียนการสอน ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่าง ๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง
-การจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคม จริยธรรม ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสเรียนรู้ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งทางสังคมถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้เพราะลำพังกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายที่ครูจัดให้หรือผู้เรียนแสวงหามาเพื่อการเรียนรู้ไม่เป็นการเพียงพอ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และบุคคลอื่น ๆ จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น ซับซ้อนขึ้น และหลากหลายขึ้น
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยาสังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น