วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 10 กฎหมายทางเทคโนโลยีทางการศึกษา

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)

พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

จุดประสงค์

1.ทำความเข้าใจกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT

2.สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3.สามารถปกป้องสิทธิ์ของตน

4.เพื่อประโยชน์ในการอื่นๆ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

-พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

-พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

1.กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ

2.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์

-ทำซ้ำหรือดัดแปลง

-เผยแพร่ต่อสาธารณชน

-ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

บทกำหนดโทษ

-ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

“เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น