วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6 ศีลปะกับงานเทคโนโลยี

การใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและความสนใจของผู้ชม และผู้ออกแบบยังพิจารณาจากจุดมุ่งหมายต้องการสร้างความรู้สึกต่อผู้ดู และการเลือกใช้สีให้เหมาะสม
ความหมายและความรู้สึกต่อสี
-สีร้อนหรือสีอบอุ่น ได้แก่ สีเหลือง ชมพู แดง ส้ม ม่วง น้ำตาล ให้ความรู้สึกก้าวร้าว รื่นเริง สดชื่น ดังนั้นจึงมีอิทธิพลต่อการดึงดูดความสนใจต่อผู้ดู
-สีเย็น ได้แก่ สีเทา ฟ้า น้ำเงิน เขียว ให้ความรู้สึกสงบ เย็น สะอาด
-สีขาว สะอาด ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา
-สีดำ สัญลักษณ์แห่งความหดหู่ เศร้าโศก ความตาย แต่ในความหมายของชาวยุโรปนั้นอาจหมายถึง ผู้ดี ครึม มั่นคง และยังหมายถึงความเป็นอมตะ ความเป็นนิรันดร์อีกด้วย
-สีแดง สีแห่งความกระตือรือล้น มีพลัง ดึงดูดความสนใจ จะแทนสัญลักษณ์แสดงถึงความมีอันตราย ความร้อน
-สีเหลือง สีแห่งความสุข สดชื่น ร่าเริงมีชีวิตชีวา ใช้แทนความหมายแห่งความหวัง หรือความระมัดระวัง
-สีเขียว สีของต้นไม้ใบหญ้า ให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ เรียบง่าย และความอุดมสมบูรณ์
-สีฟ้า สีแห่งท้องฟ้าและน้ำทะเล ให้ความสงบ เยือกเย็น มั่งคั้ง ให้ความรู้สึกสดชื่น สวยงาม
-สีม่วง มีความลึกลับ ซ่อนเร้น มีอิทธิพลต่อจินตนาการของเด็ก เช่น เทพนิยาย
-สีน้ำตาล เป็นสีแห่งความร่วงโรย และเป็นสีที่ให้ความหมายเหมือนธรรมชาติ
-สีแจ๊ด สีที่สะดุดตาเร็ว เมื่อมองเห็นไกลๆ โทนสีจะตัดกันแบบตรงข้าม เช่น แดงกับดำ เหลืองกับน้ำเงิน เป็นต้น
-สีทึม คือสีอ่อนที่ค่อนข้างเข้ม หรือสีเข้มที่จางลง ให้ความรู้สึกสลัว มัว เหมือนฝัน คลายเครียด
-สีจาง หรือสีอ่อน ให้ความอ่อนโยน เบาหวิวเหมือนปุยฝ้าย
-สีมืดทึบ ให้ความรู้สึกหนัก แข็งแกร่ง เข้ม มีพลัง เป็นต้น
กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึกต่างกัน
1.กลุ่มที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ ได้แก่ สีเหลือง ดำ แดง แสด
2.กลุ่มสีที่แสดงความเป็นผู้หญิง ได้แก่ ชมพู ฟ้า เหลืองอ่อน เขียวอ่อน
3.กลุ่มสีที่แสดงความเป็นผู้ชาย ได้แก้ สีดำ น้ำเงิน เทา แดง
4.กลุ่มที่เน้นความสด จะออกแบบในรูปแบบของสินค้าเช่น อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น เช่น สีเหลือง เขียวเหลือง น้ำเงิน
5.กลุ่มที่แสดงถึงสุขภาพ เช่น อาหารเสริม ยา ได้แก่ สีเหลือง น้ำตาล เขียว
6.กลุ่มที่แสงถึงความสั่นสะเทือน เคลื่อนไหว ได้แก่ สีน้ำเงิน แดง เหลือง เขียว
7.กลุ่มที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ ได้แก่ สีดำ เหลือง น้ำตาล ทอง
สรุป
ดังนั้นการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ดีควรมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การผลิตสื่อพิมพ์ และงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละชนิดต้องเป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของนักออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการและวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด โดยอาจอาศัยหลักการออกแบบต่างๆ เช่น องค์ประกอบทางศิลปะ ทฤษฎีสี มาประกอบเป็นความสวยงามที่สามารถสื่อสารความหมายที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น