วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2 หลักการจัดการเบื้องต้น


ความหมายของการจัดการ 
การจัดการ หมายถึง เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีองค์ประกอบ คือ
      1. เป้าหมายที่ชัดเจน(Goal)
      2. ทรัพยากรในการบริหารที่มีจากัด(Management Resources)
      3. การประสานงานระหว่างกัน(Co-ordinate)
      4. การแบ่งงานกันทา (Division)

ทรัพยากรในการจัดการ (4 MA 2Mo 1Me)
Man ทรัพยากรบุคคล
Money งบประมาณ
Materials/Media วัสดุ/สื่อการเรียนรู้
Methods วิธีการ/กิจกรรม
Market การตลาด/การประชาสัมพันธ์
Machine เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการจัดการ
Moral (ขวัญ กาลังใจ)

โครงสร้างการบริหารงานในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

การให้บริการ

บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด
-เป็นการให้บริการยืมและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ โดยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 2 ของสำนักหอสมุดและให้บริการตามเวลาที่ห้องสมุดเปิดบริการ ตามสิทธิการยืมของสมาชิกห้องสมุดแต่ละประเภท  ผู้มีสิทธิยืมหนังสือได้ต้องทำบัตรสมาชิกห้องสมุดโดยแสดงบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานมหาวิทยาลัย บัตรนิสิต หรือบัตรสมาชิกห้องสมุด ทุกครั้งที่ติดต่อยืมทรัพยากร
บริการวารสารและนิตยสาร
-เป็นการให้บริการวารสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ  ฉบับใหม่ล่าสุดจัดเก็บในแฟ้มปกพลาสาติก ให้บริการบนชั้นวารสารใหม่ โดยเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ และ A-Z ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายเอกสารและวารสาร ชั้น 4
บริการโสตทัศนศึกษา
-เป็นการให้บริการให้ยืม-คืนสี่อโสตฯ ทุกประเภท ให้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์  ให้บริการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายโสตทัศนศึกษา ชั้น 6
บริการยืมระหว่างห้องสมุด
-เป็นการให้บริการค้นหาและติดต่อสารสนเทศทุกประเภทที่ไม่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำมาให้บริการกับผู้ใช้ โดยผู้ใช้บริการขอสำเนาเอกสารจากบทความวารสาร  หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย หรือสารสนเทศอื่น ๆ โดยสำนักหอสมุดจะติดต่อไปยังแหล่งอื่น ๆ ที่มีสารเทศนั้น ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายบริการสารสนเทศ ชั้น 2
บริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
-ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะยืมทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด ต้องสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุด เพื่อทำบัตรใช้ในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ  ใช้บริการได้ที่ฝ่ายบริการสารสนเทศ ชั้น 2
บริการสำเนาบทความวารสารที่มีในสำนักหอสมุด 
-เป็นบริการพิเศษสำหรับอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ของมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับบทความที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางมาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการให้บริการจัดทำสำเนาบทความจากวารสารที่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
บริการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด 
-เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการเสนอแนะสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสารสนเทศที่น่าสนใจหรือต้องการให้สำนักหอสมุดจัดหาเข้าห้องสมุด เนื่องจากสิ่งพิมพ์นั้นใช้ในการประกอบการเรียนการสอน การทำงาน และการทำวิจัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรหรือนโยบายของมหาวิทยาลัยบูรพา
บริการ Document Delivery Service (DDS)
-เป็นบริการยืมหนังสือ วิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้กับอาจารย์ นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนด้านการเรียน การสอน การวิจัย โดยจัดส่งที่ห้องสมุดคณะฯ ผู้ใช้บริการสามารถรับหนังสือและวิทยานิพนธ์ได้ที่ห้องสมุดคณะฯ ทุกวันพุธเวลา09.30-12.00 น.

การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด

การอนุรักษ์หนังสือ

หนังสือมีพัฒนาการกันมาอย่างต่อเนื่อง และก่อประโยชน์แก่ผู้อ่านและสังคมในการส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างกว้างขวาง ห้องสมุดจะเป็นแหล่งรวมหนังสืออันหลากหลาย และมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการอ่านอย่างแพร่หลาย ดังนั้น ห้องสมุดจึงต้องมีการป้องกันและบำรุงรักษา ทั้งวัสดุ ครุภัณฑ์ และอื่นๆ โดยเฉพาะหนังสือ ซึ่งเป็นวัสดุของห้องสมุดที่มีความสำคัญและมีจำนวนมากที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การอนุรักษ์หนังสืออาจทำได้ ดังนี้
      -ดูแลครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ เช่น ชั้นวางหนังสือต้องไม่วางหนังสือหนาแน่นจนเกินไป ใช้ที่กั้นหนังสือเพื่อรักษารูปทรงหนังสือ เป็นต้น
     -ไม่วางหนังสือซ้อนกันเป็นกองๆ หรือสูงจนเกินไป
     -ระวังมิให้หนังสือตกและมีฝุ่นมากเกินไป
     -ระวังสัตว์ต่างๆ เช่น แมลง มอด ปลวก หนู ฯลฯ กัดแทะ
     -ชี้แจงแนะนำผู้ใช้หนังสือให้ระมัดระวังทั้งทางตรงและทางอ้อม
     -จัดทำหนังสือใหม่ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อยืดอายุการใช้งาน
     -ซ่อมแซมหนังสือเก่าหรือชำรุดเพื่อใช้งานได้อีก

การระวังรักษาหนังสือ เป็นการอนุรักษ์หนังสือที่บรรณารักษ์จะต้องดำเนินการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1. การป้องกัน อาจทำได้ดังนี้
            1.1 แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกวิธีแก่ผู้ใช้
            1.2 เลือกหนังสือที่ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ และเข้าเล่มแข็งแรง ทนทาน
            1.3 หนังสือจัดหามาใหม่ควรเสริมให้แข็งแรงก่อนนำออกบริการด้วยการเย็บสัน หุ้มสัน หุ้มปกพลาสติก หนังสือปกอ่อนควรทำปกแข็ง โดยเฉพาะหนังสืออ้างอิง หรือหนังสือที่มีคุณค่า ราคาแพง
2. การซ่อมแซม เป็นการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย สามารถนำออกบริการได้อีก หนังสือที่ชำรุดเล็กน้อยควรรีบซ่อมก่อนให้บริการ

การซ่อมหนังสือ

การซ่อมหนังสือ เป็นลักษณะหนังของการอนุรักษ์หนังสือด้วยการปรับแก้ไขสภาพหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพดีดังเดิม จนสามารถนำออกบริการได้อีกครั้งหนึ่ง
การซ่อมหนังสือ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
      1. การซ่อมชั่วคราวหรือซ่อมเล็กน้อย เป็นการซ่อมที่ใช้เวลาไม่มากนัก เนื่องจากหนังสือชำรุดเพียงเล็กน้อย เช่น หนังสือฉีกขาดเฉพาะที่ ฉีกขาดบางหน้าปก และสันหลุด ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อไม่ให้หนังสือเสียหายเพิ่มมากขึ้นอีก บรรณารักษ์สามารถซ่อมเองได้
      2. การซ่อมถาวรหรือซ่อมใหญ่ เป็นการซ่อมหนังสือที่ชำรุดค่อนข้างมาก ต้องใช้เวลาในการซ่อมนาน บรรณารักษ์อาจจะซ่อมเอง หรือถ้าชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมเองได้ จำเป็นต้องส่งร้านรับจ้างซ่อม บรรณารักษ์ต้องพิจารณาดำเนินการ ซึ่งควรทำในช่วงปิดภาคการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น