วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกกรมที่ 4 หลักการจัดการคน (Staffing)-หลักการสั่งการ (Directing)

ระบบการบริหารงานบุคคลมี 2 ระบบ ได้แก่
          1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
                    1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
                    1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
                    1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
                    1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
          2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ
การจำแนกตำแหน่งมี 3 ประเภท ได้แก่
              1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
              2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
              3.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์
ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคน
                ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกาหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ
การวางแผนกำลังคนที่ดี
              1.ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
              2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
              3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จาเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
             4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
             5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
             6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทางาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทา
องค์ประกอบของการอำนวยการ
             1.ความเป็นผู้นำ ; เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
             2.การจูงใจ ; มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอานวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจาเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทางาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคาถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม
             3.การติดต่อสื่อสาร; เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอานวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
             4.หารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน
ประเภทของการอำนวยการมี 2 ประเภท ได้แก่
            1.โดยวาจา
            2.โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่ 1. ทำบันทึกข้อความ 2. หนังสือเวียน 3. คำสั่ง 4. ประกาศ
รูปแบบของการอำนวยการ
           1.คำสั่งแบบบังคับ
           2.คำสั่งแบบขอร้อง
           3.คำสั่งแบบแนะนำหรือโดยปริยาย
           4.คำสั่งแบบขอความสมัครใจ
การอำนวยการที่ดี
            -ต้องชัดเจน
            -ให้คำสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
            -ถ้าผู้รับคำสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
            -ใช้น้ำเสียงให้เป็นประโยชน์
            -วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
            -ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
            -ลดคำสั่งที่มีลักษณะ ห้ามการกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
            -อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
            -ต้องแน่ใจว่าการออกคาสั่งหลาย ๆ คำสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
            -ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคำสั่งไม่ได้ผล  อย่าโยนความผิด
ให้ผู้รับคำสั่ง
ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร
                 ในการบริหารงานบุคคลจะต้องมีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร และต้องมอบหมายงานเพื่อให้พัฒนางานและบุคคลโดยจะคำนึงประสิทธิภาพของเป้าหมายและหน่วยงานเป็นสำคัญ ซึ่งในการอำนวยการก็มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรโดยจะต้องมีการพิจารณาถึงปัญหาและความก้าวหน้าของหน่วยงาน ซึ่งจะต้องมีการตัดสินใจตามเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้ ซึ่งในการบริหารงานบุคคลจะต้องมีการอำนวยการที่ดีโดยจะต้องมีการใช้คำสั่งที่แน่นอน ชัดเจน ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และเป็นประโยชน์ต่อบุคคลในหน่วยงานหรือองค์กร

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3 เรื่อง วางแผน Planning - Organizing

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผน (Planning)
ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
ศูนย์สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา
1.นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
         วิสัยทัศน์ 
กศน.อำเภอเกาะคา ประชาชนอำเภอเกาะคา ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
         พันธกิจ 
1. มุ่งมั่น สร้างสรรค์พัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
2. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
3. เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. พัฒนาผู้เรียน/ผู้รับบริการและให้บริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน/คุณภาพการศึกษา
5. พัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพและให้ได้มาตรฐาน
         นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปี 2552
1.  นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
1.1  การส่งเสริมการรู้หนังสือ
1.2  การยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน
1.3  การศึกษาต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต
1.4  การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(การศึกษานอกระบบ)
2.  นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
2.1  การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
2.2  การพัฒนาห้องสมุดประชาชน
2.3  การพัฒนารูปแบบและวิธีการ
3.  นโยบายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
3.1 ศูนย์การเรียนชุมชน
3.2 อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3.3 การจัดกิจกรรมเรียนรู้ในชุมชน
4.  นโยบายด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.1 สื่อวิทยุโทรทัศน์และวิทยุเพื่อการศึกษา
4.2  อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
5.  นโยบายด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
5.1  กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
6.  นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
6.1  การพัฒนาวิชาการ
6.2  การพัฒนาบุคลากร
6.3  การนิเทศการศึกษา
6.4  การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7.  นโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย
7.1  การประสานงานกับคณะกรรมการ
7.2  การเสริมสร้างบทบาทของภาคีเครือข่าย
8.  นโยบายด้านการบริหาร
8.1  การบริหารการศึกษา
8.2  การบริหารงานภาครัฐ
8.3  การเตรียมความพร้อมบุคลากรตามระเบียบข้าราชการพลเรือน
8.4  ระบบฐานข้อมูล
8.5  การกำกับติดตาม
8.6  โครงสร้างพื้นฐาน
9.  นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ
9.1  การส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
10.  นโยบายด้านการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.  2551
10.1  เร่งพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรเพื่อให้บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เกิดความเข้าใจที่ดี  มีทัศนะคติที่ถูกต้อง และให้การยอมรับอย่างกว้างขวาง
           กลุ่มเป้าหมายของศูนย์ ส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาศึกษาในศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยนั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายประเภทในวัยผู้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มที่เพื่อมาศึกษาเพิ่มเติมจากเนื้อหาเดิม หรืออาจจะเข้ามาศึกษาค้นคว้าเพื่อนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา

2. แหล่งที่มาของศูนย์
ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่  10 มีนาคม  2551  โดยมีอาคารสำนักงานเป็นเอกเทศ ภายในบริเวณที่ตั้ง สำนักงาน ประกอบด้วยอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเกาะคา ซึ่งศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา  ตั้งอยู่เลขที่  385  หมู่ที่ 3  ตำบลศาลา  อำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปาง  โดยมี  นางณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  อำเภอเกาะคา ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา
สถานภาพ : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา เป็นสถานศึกษาในส่วนบริหารราชการส่วนกลาง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ (Organizing)
ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้ 



โครงสร้างศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านนาปริก


       1.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์

1.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ประเภท Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ



โครงสร้างศูนย์การเรียนรู้การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยเขตวัฒนา


     1.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์

     1.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ประเภท Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ



วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2 หลักการจัดการเบื้องต้น


ความหมายของการจัดการ 
การจัดการ หมายถึง เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีองค์ประกอบ คือ
      1. เป้าหมายที่ชัดเจน(Goal)
      2. ทรัพยากรในการบริหารที่มีจากัด(Management Resources)
      3. การประสานงานระหว่างกัน(Co-ordinate)
      4. การแบ่งงานกันทา (Division)

ทรัพยากรในการจัดการ (4 MA 2Mo 1Me)
Man ทรัพยากรบุคคล
Money งบประมาณ
Materials/Media วัสดุ/สื่อการเรียนรู้
Methods วิธีการ/กิจกรรม
Market การตลาด/การประชาสัมพันธ์
Machine เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการจัดการ
Moral (ขวัญ กาลังใจ)

โครงสร้างการบริหารงานในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

การให้บริการ

บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด
-เป็นการให้บริการยืมและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ โดยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 2 ของสำนักหอสมุดและให้บริการตามเวลาที่ห้องสมุดเปิดบริการ ตามสิทธิการยืมของสมาชิกห้องสมุดแต่ละประเภท  ผู้มีสิทธิยืมหนังสือได้ต้องทำบัตรสมาชิกห้องสมุดโดยแสดงบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานมหาวิทยาลัย บัตรนิสิต หรือบัตรสมาชิกห้องสมุด ทุกครั้งที่ติดต่อยืมทรัพยากร
บริการวารสารและนิตยสาร
-เป็นการให้บริการวารสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ  ฉบับใหม่ล่าสุดจัดเก็บในแฟ้มปกพลาสาติก ให้บริการบนชั้นวารสารใหม่ โดยเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ และ A-Z ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายเอกสารและวารสาร ชั้น 4
บริการโสตทัศนศึกษา
-เป็นการให้บริการให้ยืม-คืนสี่อโสตฯ ทุกประเภท ให้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์  ให้บริการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายโสตทัศนศึกษา ชั้น 6
บริการยืมระหว่างห้องสมุด
-เป็นการให้บริการค้นหาและติดต่อสารสนเทศทุกประเภทที่ไม่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำมาให้บริการกับผู้ใช้ โดยผู้ใช้บริการขอสำเนาเอกสารจากบทความวารสาร  หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย หรือสารสนเทศอื่น ๆ โดยสำนักหอสมุดจะติดต่อไปยังแหล่งอื่น ๆ ที่มีสารเทศนั้น ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ใช้บริการได้ที่ ฝ่ายบริการสารสนเทศ ชั้น 2
บริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
-ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะยืมทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด ต้องสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุด เพื่อทำบัตรใช้ในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ  ใช้บริการได้ที่ฝ่ายบริการสารสนเทศ ชั้น 2
บริการสำเนาบทความวารสารที่มีในสำนักหอสมุด 
-เป็นบริการพิเศษสำหรับอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ของมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับบทความที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางมาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการให้บริการจัดทำสำเนาบทความจากวารสารที่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
บริการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด 
-เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการเสนอแนะสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสารสนเทศที่น่าสนใจหรือต้องการให้สำนักหอสมุดจัดหาเข้าห้องสมุด เนื่องจากสิ่งพิมพ์นั้นใช้ในการประกอบการเรียนการสอน การทำงาน และการทำวิจัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรหรือนโยบายของมหาวิทยาลัยบูรพา
บริการ Document Delivery Service (DDS)
-เป็นบริการยืมหนังสือ วิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้กับอาจารย์ นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนด้านการเรียน การสอน การวิจัย โดยจัดส่งที่ห้องสมุดคณะฯ ผู้ใช้บริการสามารถรับหนังสือและวิทยานิพนธ์ได้ที่ห้องสมุดคณะฯ ทุกวันพุธเวลา09.30-12.00 น.

การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด

การอนุรักษ์หนังสือ

หนังสือมีพัฒนาการกันมาอย่างต่อเนื่อง และก่อประโยชน์แก่ผู้อ่านและสังคมในการส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างกว้างขวาง ห้องสมุดจะเป็นแหล่งรวมหนังสืออันหลากหลาย และมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการอ่านอย่างแพร่หลาย ดังนั้น ห้องสมุดจึงต้องมีการป้องกันและบำรุงรักษา ทั้งวัสดุ ครุภัณฑ์ และอื่นๆ โดยเฉพาะหนังสือ ซึ่งเป็นวัสดุของห้องสมุดที่มีความสำคัญและมีจำนวนมากที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การอนุรักษ์หนังสืออาจทำได้ ดังนี้
      -ดูแลครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ เช่น ชั้นวางหนังสือต้องไม่วางหนังสือหนาแน่นจนเกินไป ใช้ที่กั้นหนังสือเพื่อรักษารูปทรงหนังสือ เป็นต้น
     -ไม่วางหนังสือซ้อนกันเป็นกองๆ หรือสูงจนเกินไป
     -ระวังมิให้หนังสือตกและมีฝุ่นมากเกินไป
     -ระวังสัตว์ต่างๆ เช่น แมลง มอด ปลวก หนู ฯลฯ กัดแทะ
     -ชี้แจงแนะนำผู้ใช้หนังสือให้ระมัดระวังทั้งทางตรงและทางอ้อม
     -จัดทำหนังสือใหม่ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อยืดอายุการใช้งาน
     -ซ่อมแซมหนังสือเก่าหรือชำรุดเพื่อใช้งานได้อีก

การระวังรักษาหนังสือ เป็นการอนุรักษ์หนังสือที่บรรณารักษ์จะต้องดำเนินการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1. การป้องกัน อาจทำได้ดังนี้
            1.1 แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกวิธีแก่ผู้ใช้
            1.2 เลือกหนังสือที่ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ และเข้าเล่มแข็งแรง ทนทาน
            1.3 หนังสือจัดหามาใหม่ควรเสริมให้แข็งแรงก่อนนำออกบริการด้วยการเย็บสัน หุ้มสัน หุ้มปกพลาสติก หนังสือปกอ่อนควรทำปกแข็ง โดยเฉพาะหนังสืออ้างอิง หรือหนังสือที่มีคุณค่า ราคาแพง
2. การซ่อมแซม เป็นการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย สามารถนำออกบริการได้อีก หนังสือที่ชำรุดเล็กน้อยควรรีบซ่อมก่อนให้บริการ

การซ่อมหนังสือ

การซ่อมหนังสือ เป็นลักษณะหนังของการอนุรักษ์หนังสือด้วยการปรับแก้ไขสภาพหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพดีดังเดิม จนสามารถนำออกบริการได้อีกครั้งหนึ่ง
การซ่อมหนังสือ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
      1. การซ่อมชั่วคราวหรือซ่อมเล็กน้อย เป็นการซ่อมที่ใช้เวลาไม่มากนัก เนื่องจากหนังสือชำรุดเพียงเล็กน้อย เช่น หนังสือฉีกขาดเฉพาะที่ ฉีกขาดบางหน้าปก และสันหลุด ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อไม่ให้หนังสือเสียหายเพิ่มมากขึ้นอีก บรรณารักษ์สามารถซ่อมเองได้
      2. การซ่อมถาวรหรือซ่อมใหญ่ เป็นการซ่อมหนังสือที่ชำรุดค่อนข้างมาก ต้องใช้เวลาในการซ่อมนาน บรรณารักษ์อาจจะซ่อมเอง หรือถ้าชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมเองได้ จำเป็นต้องส่งร้านรับจ้างซ่อม บรรณารักษ์ต้องพิจารณาดำเนินการ ซึ่งควรทำในช่วงปิดภาคการศึกษา

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1 ความหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

         ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือ เป็นศูนย์บริการสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย โดยศูนย์ปฏิบัติการทางวิชาการนี้จะมีบริการยืม-คืนหนังสือ ซึ่งรัฐบาลจะให้ความสำคัญต่องานด้านเทคโนโลยีการศึกษาโดยเฉพาะสื่อการเรียนการสอน เพื่อรองรับระบบการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติในด้านการพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนในส่วนการผลิต และพัฒนาสื่อกล่าวว่า "การพัฒนาการเรียนการมุ่งให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อทุกประเภทรวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อประสม อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู และการเรียนรู้ของผู้เรียน"
ตัวอย่างเช่น
            ศูนย์การศึกษาภายในสถาบันการศึกษา  โดยศูนย์การศึกษาประเภทนี้สถาบันการศึกษาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการสื่อ  บางที่เรียกว่า  Unified Media Center  นอกจากนั้นยังใช้เป็นแหล่งค้นคว้าฝึกผลิตสื่อที่เตรียมการสอน  การบริการภายในศูนย์ที่มีบุคลากรที่มีความชำนาญให้บริการเช่น 
                        -ศุนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (Qs1 ชั้น 3) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
                        -หน่วยโสตทัศนศึกษา  โรงเรียน/ศูนย์การศึกษาโรงเรียนจังหวัด
                        -หน่วยบริการศึกษาเพื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัย/ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
                        -สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                        -หน่วยบริการการศึกษาทางไกล  กศน.  ฯลฯ
           ศูนย์สื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มโรงเรียน  ศูนย์สื่อการศึกษาประเภทนี้เป็นลักษณะรวบรวมกลุ่มของสถานศึกษาขึ้นมาที่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสมและมีศักยภาพสูงทั้งในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  โดยบุคลากรภายในศูนย์อาจจะมาจากโรงเรียนภายในกลุ่มหรือเป็นบุคลากรของโรงเรียนที่ศูนย์สื่อการศึกษาตั้งอยู่ก็ได้
           ศูนย์สื่อสารการศึกษาทั่วไป  ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสื่อทางการศึกษาทั่วไป  บางทีเรียกว่าศูนย์บริการกลาง(System  Media  Center)  แต่ยังให้บริการแก่บุคคลภายนอกได้ตามสมควร  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อทั่วไปเช่น
                       -สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ  เพื่อให้บริการหน่วยงานต่างๆ  อย่างกว้างขวาง  ไม่จำกัดเฉพาะผู้รับบริการในกระทรวงใด
                      - ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ
                      -ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์
                      -สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                      -สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษาของของมหาวิทยาลัยรามคำแหง  ฯลฯ