1. หลังศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้นิสิตทำกิจกรรมดังนี้
2. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น
3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สถาบัน ได้แก่ ห้องสมุดต่างๆ ,อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,หอศิลป์ ,พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
4. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิธีการ ได้แก่ ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น
1.2 จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง 52 แหล่ง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้โดยเลือกมา
1 แหล่ง ในประเด็นดังนี้ อะไร คือ
องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย
โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต
โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
แต่ละตู้จะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชนิดสัตว์ทะเลที่อยู่ในตู้ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์
โดยหัวข้อต่างๆที่ให้ความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่
ดังแสดงในแผนผังการจัดแสดงในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้แก่
1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง
2. ปลาในแนวปะการัง
3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม
5. ปลาเศรษฐกิจ จะแบ่งได้ 2
ประเภท
ได้แก่ พวกที่นำมาเป็นอาหาร และพวกที่นำมาเพื่อเป็นความสวยงาม
6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ
7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร
1.3 นิสิตคิดว่าใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มผู้เรียนหลัก ให้ระบุ
กลุ่มเป้าหมายนักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย
ถึงระดับชั้นการเรียนระดับต่าง ๆ
1.4 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน/กลุ่มเป้าหมายนั้น
ๆ เช่น วิธีการสาธิต, วิธีการลงมือปฏิบัติ เป็นต้น
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะมีกระบวนการเรียนรู้โดยมีการสาธิตการดำน้ำให้อาหารปลาที่ตู้ปลาตู้ใหญ่ที่มีความจุประมาณ
1,000 ตัน ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
ตื่นตาตื่นใจกับความน่ารักของปลาหมอทะเลในขณะที่ทานอาหารจากมือนักประดาน้ำ
ที่ต้องป้อนอาหารให้ถึงปากปลาหมอทะเลที่มีน้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม
1.5 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ เช่น รูปแบบนิทรรศการ, วีดิทัศน์
เป็นต้น
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะมีการแบ่งกระบวนการเรียนรู้ออกเป็น 3
ส่วน
ซึ่งในส่วนที่หนึ่งจะเป็นการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และด้านวิทยาศาสตร์การประมง
ในส่วนที่สองจะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล
ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์
ดังมีรายละเอียดดังนี้
-นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดย
ให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเลจนไปถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ในทะเล
-นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล
และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ
โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย
และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
-นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์
เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น
เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ
และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
-ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย
ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล
หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น
รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม
วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
1.6 มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียนอย่างไร
เช่น
กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กเยาวชนที่กำลังชอบลองผิดลองถูก ได้สัมผัสของจริงจนเกิดการเรียนรู้
กลุ่มเป้าเหมาย คือ นักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย
ถึงระดับชั้นการเรียนระดับต่าง ๆ ซึ่งในสถาบันวิทยาสาสตร์ทางทะเลนั้นจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีทั้งการจัดแสดงนิทรรศการในส่วนที่จำลองของจริง
และการจัดแสดงเพื่อให้ความรู้กับกลุ่มผู้เรียน
และยังมีส่วนของการเรียนรู้ในหมวดของการสาธิต
ซึ่งในการสาธิตนี้จะเป็นการให้อาหารปลาในตู้ปลาเพื่อให้กลุ่มผู้เรียนหรือผู้ที่สนใจได้ชม
1.7สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
ได้หรือไม่อย่างไร เช่น เชื่อมโยงกับการศึกษาตามอัธยาศัย
โดยการเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนี้สามารถเชื่อมโยงการศึกษาในระบบนอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยได้
เนื่องจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นการจัดแสดงความรู้ต่างๆเกี่ยวกับสัตว์น้ำเค็ม
แต่ในการเปิดให้เข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นจะมีการเปิด-ปิดเป็นเวลา
และในการเข้าชมนั้นก็จะต้องมีอัตราค่าบริการในการเข้าชมแล้วแต่วัยของผู้เข้าชม
และในการเข้าชมนั้นก็สามารถที่จะเข้าชมได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุได้
2. หลังจากศึกษาเนื้อหาแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคลให้นิสิต Download
Clip VDO เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล คนละ 2 ClipVDO พร้อมนำเสนอบน
Weblog พร้อมอธิบาย องค์ความรู้ที่ได้/รางวัลที่ได้รับ/จุดเด่น
1.ประวัติ โชค บุลกุล (กรรมการผู้จัดการ
กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย)
คุณโชค บุลกุล
เป็นแหล่งการเรียนรู้บุคคลอีกหนึ่งคนที่มีองค์ความรู้และมีกลยุทธ์ในการที่จะเป็นกรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยที่มีความเป็นผู้นำที่ใช้คุณสมบัติพิเศษเฉพาะคนสร้างการเปลี่ยนแปลง มีความที่พร้อมจะยอมรับการตัดสินใจของคนหมู่มาก เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก
เคารพ และเชื่อ ,uเชื่อมั่นในความผูกพันระหว่างผู้นำและทีมพร้อมที่จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ภูมิใจในความสำเร็จ และภูมิใจในความเป็นเจ้าของ รู้จักการมองต่างมุม มีการเรียนรู้และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และมีจิตสำนึกของความเป็นครู และแนวทางในการเรียนรู้ทางตลาดโดยจะมีการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม
มีการสร้างสรรค์การทำงานร่วมกัน
เป็นผู้สร้างตลาดและมูลค่าการตลาด และให้ความรู้กับตลาด โดยใช้แนวคิดลิมิเต็ดอิดิชั่น และใช้จุดแข็งเป็นตัวขับเคลื่อน
ซึ่งได้เรียนรู้จากประสบการณ์
มีเป้าหมายและภาพที่ชัดเจน
และมีซีอีโอเป็นทูตของแบรนด์
การศึกษา:
ปริญญาตรี 3 ใบ จาก Vermont
Technical College, U.S.A. ในสาขาสัตวศาสตร์สาขาการจัดการฝูงโคนม และสาขาธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนWorcester
Academy, Massachusetts, U.S.A.
มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 จากโรงเรียน St. Joseph’s College, Sydney, Australia
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 จากโรงเรียน St. Joseph’s College, Sydney, Australia
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผลงานดีเด่น
2545 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ
กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย (Chokechai Ranch Group)
2539 - 2544 กรรมการผู้อำนวยการ
2537 - 2539 รองกรรมการผู้อำนวยการ
2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจการเกษตร ฟาร์มโชคชัย
2539 - 2544 กรรมการผู้อำนวยการ
2537 - 2539 รองกรรมการผู้อำนวยการ
2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจการเกษตร ฟาร์มโชคชัย
2.นายจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2554
สาขา ปราชญ์เกษตร เศรษฐกิจพอเพียงอาชีพ เกษตรกรรม อำเภอชุมพวง
จังหวัดนครราชสีมา
นายจันทร์ที
ได้เริ่มดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาตั้งแต่ปี 2540 - 2541 โดยทราบจากสำนักงาน กปร.
และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จึงได้ศึกษาว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร
ก็ได้รับทราบว่า ต้องพยายามลดรายจ่ายในครอบครัวให้มากที่สุด
เมื่อศึกษาแล้วจึงทราบว่าจริงๆ แล้วค่าใช้จ่ายประจำวัน คือ อาหารที่ต้องกินต้องใช้
แล้วมาคิดต่ออีกว่าอาหารที่ต้องซื้อเขากินมีอะไรบ้าง
จึงมาเริ่มคุยกันในครอบครัวว่าเราต้องปลูกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราซื้อกินทุกวัน
ดังนั้นทุกอย่างที่เคยซื้อจะต้องปลูกเองทั้งหมด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
จากที่วันหนึ่งเคยซื้อ 20 - 30 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ และยังมีเงินไว้เก็บออมอีกด้วย
การศึกษา : จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 และนักธรรมโท
ผลงานดีเด่น
-เป็นบุคคลที่นำความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้กับตนเองจนประสบความสำเร็จแล้ว
และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ และขยายผลให้แก่ชาวบ้านจนประสบความสำเร็จด้วย
-แปลงเกษตรแบบประณีตในพื้นที่ 1 ไร่