วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

1. หลังศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้นิสิตทำกิจกรรมดังนี้
      1.1   จากแหล่งการเรียนรู้ 52 แห่ง ให้แบ่งประเภทของแหล่งการ เรียนรู้ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ/อาคารสถานที่/บุคคล/วิธีการ 


              1. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ   ได้แก่ สวนสัตว์,สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น
              2.
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล ได้แก่  ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น
              3.
แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สถาบัน  ได้แก่  ห้องสมุดต่างๆ ,อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,หอศิลป์ ,พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น
              4.
แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิธีการ ได้แก่  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  เป็นต้น



     1.2 จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง 52 แหล่ง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้โดยเลือกมา 1 แหล่ง ในประเด็นดังนี้     อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ  

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
             เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย  โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่ละตู้จะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชนิดสัตว์ทะเลที่อยู่ในตู้ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อต่างๆที่ให้ความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่ ดังแสดงในแผนผังการจัดแสดงในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้แก่ 
       1.  สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง 
             2. ปลาในแนวปะการัง
             3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
                 4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม
                 5. ปลาเศรษฐกิจ จะแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ พวกที่นำมาเป็นอาหาร และพวกที่นำมาเพื่อเป็นความสวยงาม
                 6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ 
       7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร   

    1.3 นิสิตคิดว่าใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มผู้เรียนหลัก ให้ระบุ
             กลุ่มเป้าหมายนักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นการเรียนระดับต่าง ๆ

    1.4  วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน/กลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ  เช่น วิธีการสาธิต, วิธีการลงมือปฏิบัติ เป็นต้น 
            สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะมีกระบวนการเรียนรู้โดยมีการสาธิตการดำน้ำให้อาหารปลาที่ตู้ปลาตู้ใหญ่ที่มีความจุประมาณ 1,000 ตัน ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ตื่นตาตื่นใจกับความน่ารักของปลาหมอทะเลในขณะที่ทานอาหารจากมือนักประดาน้ำ ที่ต้องป้อนอาหารให้ถึงปากปลาหมอทะเลที่มีน้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม

   1.5 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ เช่น รูปแบบนิทรรศการวีดิทัศน์ เป็นต้น
             สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะมีการแบ่งกระบวนการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งในส่วนที่หนึ่งจะเป็นการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง

 

              ในส่วนที่สองจะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
-นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล  โดย   ให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเลจนไปถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ในทะเล
              -นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
              -นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
              -ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก




    1.6 มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียนอย่างไร  เช่น กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กเยาวชนที่กำลังชอบลองผิดลองถูก ได้สัมผัสของจริงจนเกิดการเรียนรู้
               กลุ่มเป้าเหมาย คือ นักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นการเรียนระดับต่าง ๆ ซึ่งในสถาบันวิทยาสาสตร์ทางทะเลนั้นจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีทั้งการจัดแสดงนิทรรศการในส่วนที่จำลองของจริง และการจัดแสดงเพื่อให้ความรู้กับกลุ่มผู้เรียน และยังมีส่วนของการเรียนรู้ในหมวดของการสาธิต ซึ่งในการสาธิตนี้จะเป็นการให้อาหารปลาในตู้ปลาเพื่อให้กลุ่มผู้เรียนหรือผู้ที่สนใจได้ชม

    1.7สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ได้หรือไม่อย่างไร  เช่น เชื่อมโยงกับการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา 
              สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนี้สามารถเชื่อมโยงการศึกษาในระบบนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยได้ เนื่องจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นการจัดแสดงความรู้ต่างๆเกี่ยวกับสัตว์น้ำเค็ม แต่ในการเปิดให้เข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นจะมีการเปิด-ปิดเป็นเวลา และในการเข้าชมนั้นก็จะต้องมีอัตราค่าบริการในการเข้าชมแล้วแต่วัยของผู้เข้าชม และในการเข้าชมนั้นก็สามารถที่จะเข้าชมได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุได้

2. หลังจากศึกษาเนื้อหาแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคลให้นิสิต Download Clip VDO เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล คนละ 2 ClipVDO พร้อมนำเสนอบน Weblog พร้อมอธิบาย องค์ความรู้ที่ได้/รางวัลที่ได้รับ/จุดเด่น


                           1.ประวัติ โชค บุลกุล (กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย)

                คุณโชค บุลกุล เป็นแหล่งการเรียนรู้บุคคลอีกหนึ่งคนที่มีองค์ความรู้และมีกลยุทธ์ในการที่จะเป็นกรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยที่มีความเป็นผู้นำที่ใช้คุณสมบัติพิเศษเฉพาะคนสร้างการเปลี่ยนแปลง มีความที่พร้อมจะยอมรับการตัดสินใจของคนหมู่มาก เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก เคารพ และเชื่อ ,uเชื่อมั่นในความผูกพันระหว่างผู้นำและทีมพร้อมที่จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ภูมิใจในความสำเร็จ และภูมิใจในความเป็นเจ้าของ  รู้จักการมองต่างมุม มีการเรียนรู้และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และมีจิตสำนึกของความเป็นครู และแนวทางในการเรียนรู้ทางตลาดโดยจะมีการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม  มีการสร้างสรรค์การทำงานร่วมกัน  เป็นผู้สร้างตลาดและมูลค่าการตลาด  และให้ความรู้กับตลาด โดยใช้แนวคิดลิมิเต็ดอิดิชั่น  และใช้จุดแข็งเป็นตัวขับเคลื่อน  ซึ่งได้เรียนรู้จากประสบการณ์  มีเป้าหมายและภาพที่ชัดเจน  และมีซีอีโอเป็นทูตของแบรนด์    
 การศึกษา: 
                     ปริญญาตรี 3 ใบ จาก Vermont Technical College, U.S.A. ในสาขาสัตวศาสตร์สาขาการจัดการฝูงโคนม   และสาขาธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนWorcester Academy, Massachusetts, U.S.A.
                     มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 จากโรงเรียน St. Joseph’s College, Sydney, Australia
                     ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ผลงานดีเด่น
                     2545 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย (Chokechai Ranch Group)
                     2539 - 2544 กรรมการผู้อำนวยการ
                     2537 - 2539 รองกรรมการผู้อำนวยการ
                     2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจการเกษตร ฟาร์มโชคชัย


                               2.นายจันทร์ที   ประทุมภา ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2554     
            สาขา ปราชญ์เกษตร  เศรษฐกิจพอเพียงอาชีพ  เกษตรกรรม  อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

                นายจันทร์ที ได้เริ่มดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี 2540 - 2541 โดยทราบจากสำนักงาน กปร. และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จึงได้ศึกษาว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร ก็ได้รับทราบว่า ต้องพยายามลดรายจ่ายในครอบครัวให้มากที่สุด เมื่อศึกษาแล้วจึงทราบว่าจริงๆ แล้วค่าใช้จ่ายประจำวัน คือ อาหารที่ต้องกินต้องใช้ แล้วมาคิดต่ออีกว่าอาหารที่ต้องซื้อเขากินมีอะไรบ้าง จึงมาเริ่มคุยกันในครอบครัวว่าเราต้องปลูกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราซื้อกินทุกวัน ดังนั้นทุกอย่างที่เคยซื้อจะต้องปลูกเองทั้งหมด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่วันหนึ่งเคยซื้อ 20 - 30 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ และยังมีเงินไว้เก็บออมอีกด้วย

การศึกษา : จบการศึกษาชั้นประถมปีที่  4 และนักธรรมโท
ผลงานดีเด่น
                     -เป็นบุคคลที่นำความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้กับตนเองจนประสบความสำเร็จแล้ว และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ และขยายผลให้แก่ชาวบ้านจนประสบความสำเร็จด้วย 
                     -แปลงเกษตรแบบประณีตในพื้นที่ 1 ไร่

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนวคิดเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้


           แนวคิดเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ การเข้าถึงการประเมินแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ และจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม

ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
           ศูนย์รวมข้อมูลในรูปแบบต่างๆที่ก่อให้เกิดความรู้ เช่น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งบุคคล สิ่งประดิษฐ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วัตถุ อาคาร และสถานที่

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่นิสิตรู้จัก
           -สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จัดอยู่ในประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน
           -อุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสอยดาว จังหวัดจันทบุรี จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
           -วัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดอยู่ในประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน
           -แหล่งการเรียนรู้จักสานพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จัดอยู่ในประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และประเพณี
           -อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล Aquarium Sea Learning Center

ศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล Aquarium Sea Learning Center

ชื่อโครงการ  :  โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล เสมือนจริง

หลักการและเหตุผล
                การจัดตั้งโครงการ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อม สำหรับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในและนอกระบบโรงเรียนรวมทั้งประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเองจากนิทรรศการและกิจกรรมหลาย ๆ รูปแบบ โดยมีพื้นที่จัดแสดงทั้งหมดประมาณ 3,600 ตารางเมตร
              ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการและจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่หลากหลายสมจริงตามระบบนิเวศวิทยา  มีสื่อบรรยายความรู้ไว้บริการ  ผู้ชมสามารถศึกษาหาความรู้ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ ทั้งสาระความรู้และความเพลิดเพลินด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
วัตถุประสงค์
                ๓.๑ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทางทะเลของเขตภูมิภาคตะวันออก
                ๓.๒ เพื่อเป็นศูนย์กลางของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสัตว์น้ำทางทะเลของชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
                ๓.๓ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการวิจัยพันธุ์สัตว์น้ำ การประมง และระบบนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำ ในเขตทะเลอ่าวไทย
                ๓.๔ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน เสริมสร้างทักษะประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เด็กมีความกล้าคิด กล้าทำ การแสดงออก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และรู้จักการเข้าสังคม

เป้าหมาย
                ประชาชน  นักเรียน  นักศึกษา  บุคลากรท้องถิ่น  ชุมชน และส่วนราชการทุกภาคส่วน
วิธีดำเนินการ
                ๕.๑ ติดต่อประสานงานสถาบันวิจัยทางทะเลและสัตว์ทะเลเพื่อขอรับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล
                ๕.๒  จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการจากผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
                ๕.๓  แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล
                ๕.๔  ดำเนินงานตามโครงการ
                ๕.๕  สรุปผลและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง
สถานที่ดำเนินการ  :  ศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล

ระยะเวลาดำเนินการ  :  สิงหาคม ๒๕๕๔  เป็นต้นไป

งบประมาณดำเนินการ
                งบประมาณจากสถาบันวิจัยทางทะเลและสัตว์ทะเล   เป็นเงิน ๑๕๙,๐๐๗,๘๐๐.-  บาท
หมวดค่าใช้สอย   ประเภทรายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ  เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
                ๑.ค่าก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้
                ๒.  ค่าจ้างเหมาติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด  5000 kva. 3 phase พร้อมปักเสาพาดสายเมนไฟฟ้า
                ๓. ศึกษาดูงานการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล
                ๔. ค่าตอบแทนผู้ดูแลและควบคุมระบบ ศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล เดือนกันยายน 2554

ผู้รับผิดชอบโครงการ
                ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีและนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่ม 402 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 423312 การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
              ๑๐.๑  เกิดแหล่งเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล  ทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ทะเล
              ๑๐.๒  ประชาชนสามารถใช้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนได้
              ๑๐.๓   เป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้วิวัฒนาการณ์ของสัตว์ทะเล
โครงสร้างองค์การ
ภาระหน้าที่ของฝ่ายงานต่าง ๆ ในศูนย์การเรียนรู้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูล
               มีหน้าที่ ในการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับศูนย์ทรัพยากรในผู้ที่สนใจแวะมาเยี่ยมชม ณ ศูนย์ทรัพยากร นอกจากนั้นยังที่หน้าที่ในการจัดทำเอกสารเผยแพร่เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่เยี่ยมชมยังศูนย์ทรัพยากรด้วย ตลอดจนการจัดนิทรรศการให้กับผู้มาเยี่ยมชม ณ ศูนย์ทรัพยากรอีกด้วย ฝ่ายประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูล 
ฝ่ายวิทยากร
              มีหน้าที่ ในการแนะนำศูนย์ทรัพยากรให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับทราบในเรื่องต่างๆ และคอยตอบปัญหาต่างๆของผู้ที่มาเยี่ยมชมยังศูนย์ทรัพยากร ตลอดจนถึงการพาผู้เยี่ยมชมเที่ยวชมศูนย์ทรัพยากรในส่วนต่างๆ ฝ่ายวิทยากร


ฝ่ายควบคุมดูแลสัตว์น้ำ
             มีหน้าที่ คอยดูแลสัตว์น้ำที่อยู่ภายในศูนย์ทรัพยากรในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  ในส่วนของการให้อาหารปลา การควบคุมน้ำและการเปลี่ยนน้ำของตู้ปลาในแต่ละตู้ และการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น ฝ่ายควบคุมดูแลสัตว์น้ำ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
             มีหน้าที่ ในการเผยแพร่ข้องมูลต่างๆอีกฝ่ายหนึ่งของศูนย์ทรัพยากร เพียงแต่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆบนเว็บไซต์ โดยในฝ่ายนี้ จะมีหน้าที่ในการพัฒนาเว็บไซต์ การจัดฝึกอบรมวิทยากรต่างๆ และการจัดทำสื่อการเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น ฝ่ายเทคโนโลยีสานสรเทศ

รายชื่อคณะทำงาน  (รายชื่อนิสิตในแต่ละกลุ่ม โดยสมมุติขึ้นว่าใครจะเป็น ตำแหน่งใด)
             นางสาวอินทิรา  นารอด            ผู้อำนวยการศูนย์ และ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
             นายธนบรรณ      ขวัญมั่น          ฝ่ายวิทยากร
             นายพงศกร         สุวรรณะ          ฝ่ายวิทยากร
             นางสาวทิพภา    เกษมนิธิโชค  ฝ่ายควบคุมดูแลสัตว์น้ำ
             นางสาวบุญกนก  ปิยะนิตย์        ฝ่ายควบคุมดูแลสัตว์น้ำ
             นายวัชรพล          ตุ้ยสมุทร       ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
             นายเดชณรงค์      มนต์คาถา     ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
             นายสรวิศ             พันคง            ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

นโยบายหลัก        
                ๑๔.๑ ดำเนินการพัฒนาสนับสนุนด้านการวิจัยสัตว์น้ำทางทะเล  เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่อย่างถูกต้อง
             ๑๔.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางด้านการใช้สื่อและผลิตสื่อให้มีประสิทธิภาพ

ปณิธาน
           ศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเลจะดำรงความเป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพการให้ความรู้ ให้ได้มาตรฐานเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

วิสัยทัศน์
         เป็นผู้นำและศูนย์กลางที่ให้บริการทรัพยากรความรู้ด้านสัตว์น้ำทางทะเล ในภูมิภาคชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

พันธกิจ
         ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Centre) เป็นการให้บริการและ ปฏิบัติตามพันธกิจของกรมประมงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยด้านสัตว์น้ำทางทะเลในภูมิภาคชายฝั่งอ่าวไทย

คำขวัญของหน่วยงาน
            “สร้างองค์ความรู้ สู่สาธารณะ พัฒนาสังคมไทย ไปสู่ความยั่งยืน ”
โครงสร้างเว็บไซต์ของหน่วยงาน
 แหล่งที่อยู่บนเว็บไซต์ของศูนย์ฯ
            http://aquariumsealearningcenter.blogspot.com
ข้อมูลหลักการเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

         1.ภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญๆของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
         2. พิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านต่าง ๆ
         3. การปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
         4. ขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
         5. วิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ
         6. การบริหารงานบุคคล
         7. หลักการบริหารงานบุคคล
         8. การจำแนกตำแหน่ง 3 ประเภท
                -จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification
                -จำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification
                -จำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification
         9. กระบวนการวางแผนกำลังคน
         10. การวางแผนกำลังคนที่ดี
         11. บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้
วิธีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สัตว์น้ำทางทะเล
เขียนโครงการขอจัดตั้งให้อาจารย์ผู้สอนพิจารณา
ปฏิบัติตามแผนเก็บข้อมูล
ประมวลวิเคราะห์ข้อมูล
จัดทำรายงาน และจัดทำระบบสารสนเทศบนเว็บไซต์
ความหมายของสัญลักษณ์ศูนย์ 
        - ปลาการ์ตูน แสดงถึง การปรับตัวเข้ากับการทำงานหรือองค์กร ดังเช่น ปลาการ์ตูนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับดอกไม้ทะเลที่มีพิษได้    
        -  เกลียวคลื่น แสดงถึง ความกลมเกลียว สามัคคีกันในองค์กร
        -  ต้นมะพร้าว แสดงถึง ความอดทนต่อการทำงานที่ฝ่าฟันอุปสรรคในการทำงานไปได้ เหมือนต้นมะพร้าวที่เติบโตท่ามกลางลมพายุ ที่โถมเข้าใส่
 แผนผังศูนย์

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5 การประสานงาน (Coordinating),การรายงาน (Reporting) ,งบประมาณ (Budgeting)

1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
การประสานงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ
                2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ

2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
                ในการประสานงานกับการจัดศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญ ซึ่งในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จะต้องมีกระบวนการบริหารในการจัดสรรบุคคลในการทำงาน การบริหารบุคคลในหน่วยงาน และในการประสานงานจะต้องมีระเบียบธรรมเนียมในการบริหารเพื่อให้บุคคลในหน่วยงานมีการปฏิบัติงานในขอบเขตงานที่เหมาะสม และปฏิบัติงานตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ และในการประสานงานนั้นจะต้องนักบริหารหรือหัวหน้างานเป็นส่วนสำคัญเพราะนักบริหารหรือหัวหน้างานนั้นจะต้องเป็นผู้วางแผนและกำหนดรายละเอียดต่างๆให้กับพนักงานได้ปฏิบัติตาม

3. การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร
                  การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

4. ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
                  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
                  หมวดค่าจ้างชั่วคราว
                  หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
                  หมวดค่าสาธารณูปโภค
                  หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
                  หมวดเงินอุดหนุน
                  หมวดรายจ่ายอื่น

5. เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                 1. ค่าฌาปนกิจ
                 2. ค่าสินบน
                 3. ค่ารางวัลนำจับ
                 4. เงินอื่น ๆ ที่สำนักงบประมาณจำ กำหนดเพิ่มเติม

6. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
                 1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
                 2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
                 3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
                 4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
                 5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม

7.  เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
                 1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                 2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
                 3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
                 4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
                 5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
                 6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
                 7.การติดตามผล

8. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
                 1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
                 2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
                 3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่นๆทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
                 4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
                 5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทาให้การทางานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                 6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
                 7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
                 8.การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
                 9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
                10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทาให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
                 11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
                 12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป

9. จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี จงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำนักหอสมุดนี้ได้มีการจัดการการประสานงานได้อย่างเป็นระบบ โดยทางศูนย์การเรียนรู้นั้นจะมีการติดต่อสื่อสาร การวางแผนในหน่วยงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเพื่อให้หน่วยงานมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับหน่วยงาน

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกกรมที่ 4 หลักการจัดการคน (Staffing)-หลักการสั่งการ (Directing)

ระบบการบริหารงานบุคคลมี 2 ระบบ ได้แก่
          1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
                    1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
                    1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
                    1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
                    1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
          2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ
การจำแนกตำแหน่งมี 3 ประเภท ได้แก่
              1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
              2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
              3.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์
ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคน
                ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกาหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ
การวางแผนกำลังคนที่ดี
              1.ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
              2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
              3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จาเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
             4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
             5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
             6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทางาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทา
องค์ประกอบของการอำนวยการ
             1.ความเป็นผู้นำ ; เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
             2.การจูงใจ ; มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอานวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจาเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทางาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคาถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม
             3.การติดต่อสื่อสาร; เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอานวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
             4.หารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน
ประเภทของการอำนวยการมี 2 ประเภท ได้แก่
            1.โดยวาจา
            2.โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่ 1. ทำบันทึกข้อความ 2. หนังสือเวียน 3. คำสั่ง 4. ประกาศ
รูปแบบของการอำนวยการ
           1.คำสั่งแบบบังคับ
           2.คำสั่งแบบขอร้อง
           3.คำสั่งแบบแนะนำหรือโดยปริยาย
           4.คำสั่งแบบขอความสมัครใจ
การอำนวยการที่ดี
            -ต้องชัดเจน
            -ให้คำสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
            -ถ้าผู้รับคำสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
            -ใช้น้ำเสียงให้เป็นประโยชน์
            -วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
            -ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
            -ลดคำสั่งที่มีลักษณะ ห้ามการกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
            -อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
            -ต้องแน่ใจว่าการออกคาสั่งหลาย ๆ คำสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
            -ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคำสั่งไม่ได้ผล  อย่าโยนความผิด
ให้ผู้รับคำสั่ง
ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร
                 ในการบริหารงานบุคคลจะต้องมีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร และต้องมอบหมายงานเพื่อให้พัฒนางานและบุคคลโดยจะคำนึงประสิทธิภาพของเป้าหมายและหน่วยงานเป็นสำคัญ ซึ่งในการอำนวยการก็มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรโดยจะต้องมีการพิจารณาถึงปัญหาและความก้าวหน้าของหน่วยงาน ซึ่งจะต้องมีการตัดสินใจตามเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้ ซึ่งในการบริหารงานบุคคลจะต้องมีการอำนวยการที่ดีโดยจะต้องมีการใช้คำสั่งที่แน่นอน ชัดเจน ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และเป็นประโยชน์ต่อบุคคลในหน่วยงานหรือองค์กร

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3 เรื่อง วางแผน Planning - Organizing

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผน (Planning)
ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
ศูนย์สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา
1.นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
         วิสัยทัศน์ 
กศน.อำเภอเกาะคา ประชาชนอำเภอเกาะคา ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
         พันธกิจ 
1. มุ่งมั่น สร้างสรรค์พัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
2. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
3. เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. พัฒนาผู้เรียน/ผู้รับบริการและให้บริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน/คุณภาพการศึกษา
5. พัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพและให้ได้มาตรฐาน
         นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปี 2552
1.  นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
1.1  การส่งเสริมการรู้หนังสือ
1.2  การยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน
1.3  การศึกษาต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต
1.4  การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(การศึกษานอกระบบ)
2.  นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
2.1  การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
2.2  การพัฒนาห้องสมุดประชาชน
2.3  การพัฒนารูปแบบและวิธีการ
3.  นโยบายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
3.1 ศูนย์การเรียนชุมชน
3.2 อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3.3 การจัดกิจกรรมเรียนรู้ในชุมชน
4.  นโยบายด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.1 สื่อวิทยุโทรทัศน์และวิทยุเพื่อการศึกษา
4.2  อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
5.  นโยบายด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
5.1  กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
6.  นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
6.1  การพัฒนาวิชาการ
6.2  การพัฒนาบุคลากร
6.3  การนิเทศการศึกษา
6.4  การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7.  นโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย
7.1  การประสานงานกับคณะกรรมการ
7.2  การเสริมสร้างบทบาทของภาคีเครือข่าย
8.  นโยบายด้านการบริหาร
8.1  การบริหารการศึกษา
8.2  การบริหารงานภาครัฐ
8.3  การเตรียมความพร้อมบุคลากรตามระเบียบข้าราชการพลเรือน
8.4  ระบบฐานข้อมูล
8.5  การกำกับติดตาม
8.6  โครงสร้างพื้นฐาน
9.  นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ
9.1  การส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
10.  นโยบายด้านการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.  2551
10.1  เร่งพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรเพื่อให้บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เกิดความเข้าใจที่ดี  มีทัศนะคติที่ถูกต้อง และให้การยอมรับอย่างกว้างขวาง
           กลุ่มเป้าหมายของศูนย์ ส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาศึกษาในศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยนั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายประเภทในวัยผู้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มที่เพื่อมาศึกษาเพิ่มเติมจากเนื้อหาเดิม หรืออาจจะเข้ามาศึกษาค้นคว้าเพื่อนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา

2. แหล่งที่มาของศูนย์
ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่  10 มีนาคม  2551  โดยมีอาคารสำนักงานเป็นเอกเทศ ภายในบริเวณที่ตั้ง สำนักงาน ประกอบด้วยอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเกาะคา ซึ่งศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา  ตั้งอยู่เลขที่  385  หมู่ที่ 3  ตำบลศาลา  อำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปาง  โดยมี  นางณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  อำเภอเกาะคา ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา
สถานภาพ : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเกาะคา เป็นสถานศึกษาในส่วนบริหารราชการส่วนกลาง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ (Organizing)
ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้ 



โครงสร้างศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านนาปริก


       1.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์

1.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ประเภท Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ



โครงสร้างศูนย์การเรียนรู้การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยเขตวัฒนา


     1.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์

     1.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ประเภท Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ