วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์ตรง ณ ฝ่ายโรงพิมพ์และฝ่ายสื่อการส่งเสริม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพิมพ์ไทยรัฐ 10-11 พ.ค.

โรงพิมพ์ไทยรัฐ



ประวัติหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
กำเนิดหนังสือพิมพ์ไทยรัฐภายใต้การบริหารของนายกำพล วัชรพล เริ่มขึ้นเมื่ปลายปี 2492




ยุคที่ 1 (ข่าวภาพ พ.ศ.2493-2501)


ยุคที่ 2 (เสียงอ่างทอง พ.ศ.2502-2505)


ยุคที่ 3 (ไทยรัฐ ซอยวรพงษ์ พ.ศ.2505-2513)


ยุคที่ 4 (ไทยรัฐวิภาวดีรังสิต พ.ศ.2513-2531)
ยุคที่ 5 (ไทยรัฐวิภาวดีรังสิต พ.ศ.2531-ปัจจุบัน)



หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จำหน่ายแยกเป็น 2 กรอบ คือกรอบแรก และกรอบหลัง โดยแต่ละกรอบจะมีเครื่องหมายเป็นรูปดาวกำกับด้านขวาของปกหน้า แสดงเขตการจำหน่าย


*จำหน่ายในเขตภาคอีสาน แะตะวันออก

**จำหน่ายในเขตภาคเหนือ

***จำหน่ายในเขตภาคใต้

****จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ

*****จำหน่ายในเขตภาคกลาง

******จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ (กรอบหลัง)


กิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์ตรง ณ ฝ่ายโรงพิมพ์และฝ่ายสื่อการส่งเสริม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพิมพ์ไทยรัฐ 10-11 พ.ค.

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำหรับ Traditional Process จะใช้เวลาในการพิมพ์ประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการพิมพ์ ซึ่งจะเหมาะกับการพิมพ์เป็นจำนวนมากๆ


สำหรับ Print On Demand Process (Digital) จะเป็นการพิมพ์ประมาณชั่งโมงกว่าๆ และจะเหมาะกับการพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ในจำนวนที่ไม่มากนัก



ผู้บริหารสำนักฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-อ.กฤษณ์ พลอยโสภณ

-อ.ไพโรศ กิ่งจันทร์

ระบบการพิมพ์
-Leterpress จะใช้แม่พิมพ์ หรือตะกั่วมาพิมพ์
-Offest เป็นระบบทันสมัย เป็นระบบที่ดีที่สุด ให้ภาพที่มีความละเอียดอ่อน


-Gravure เป็นระบบแบบอุตสาหกรรมในการใช้สำหรับพิมพ์ประเภทของบรรจุภัณฑ์


-Silk Screen เป็นระบบที่ใช้ผ้ารูดปาดบนสื่อวัตถุต่างๆ
-Flexography เป็นระบบที่ทันสมัยหรือดิจิตอลเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร



ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์



กิจกรรมที่ 6 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทคู่มือการใช้ (Operation Manual)

คู่มือการใช้ (Operation Manual)



คืออธิบายการทำงานและขั้นตอนต่างๆ ของระบบงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อใช้งานสื่อและเครื่องมือนั้นได้



องค์ประกอบของคู่มือการใช้



1. หน้าปก



2. สารบัญ



3. คำแนะนำความปลอดภัย/ข้อควรระวัง



4. ส่วนประกอบของสื่อนั้น ๆ



5. แผงหน้าปัดการทำงาน



6. คำแนะนำการใช้............(ชื่อสื่อ) ได้แก่ ข้อแนะนำในการติดตั้ง



7. การดูแลรักษาและทำความสะอาด



8. การเรียกใช้บริการตรวจสอบเครื่อง



9. ข้อมูลจำเพาะ

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

หนังสือ หมายถึง การบันทึกความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ลงบนแผ่นกระดาษขนาดเท่า ๆ กัน โดยใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารในการสื่อสารให้ผู้อ่านได้รับรู้ และเข้าใจ ซึ่งใช้การเขียน หรือพิมพ์ แล้วนำมาเย็บรวมเป็นเล่ม



หนังสือมีประโยชน์ ดังนี้



1. บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้อย่างละเอียดชัดเจน


2. ถ่ายทอดวัฒนธรรมและเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน


3. ส่งเสริมความใฝ่รู้ให้แก่ผู้อ่านด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและรูปเล่มที่ดึงดูดความสนใจ


4. สร้างนิสัยรักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์



ส่วนประกอบของหนังสือ



การศึกษาส่วนประกอบของหนังสือนั้น มีความจำเป็นมากสำหรับผู้อ่าน นอกเหนือจากการอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือแล้ว ผู้อ่านควรที่จะทราบส่วนประกอบของหนังสือด้วย เนื่องจากแต่ละส่วนของหนังสือ จะบอกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือใช้ประกอบการอ้างอิงได้ หรือเพื่อประโยชน์ในการช่วยให้อ่านหนังสือได้เข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งหนังสือประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้



1. ส่วนปก (binding)


2. ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)


3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text / body of the book)


4. ส่วนประกอบตอนท้าย (auxiliary materials)



1. ส่วนปก (binding)


1.1 ใบหุ้มปก (book jacket / dust jacket / wrapper)


1.2 ปก (blnding / cover


1.3 สันหนังสือ (spine)


1.4 ใบติดปก (end paper)



2. ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)


2.1 ใบรองปก (fly leave)


2.2 หน้าชื่อเรื่อง (half title page)


2.3 หน้าภาพนำ (frontispiece)


2.4 หน้าปกใน (title page)


2.5 หน้าลิขสิทธิ์ (copyright page)


2.6 หน้าคำอุทิศ (dedication page)


2.7 หน้าคำนำ (preface)


2.8 หน้าบทนำ (introduction)


2.9 หน้าสารบัญ (table of contents)


2.10 หน้าสารบัญภาพ แผนที่ และตาราง (list of illustrations, maps and tables)



3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text or body of the book)


3.1 เนื้อหา (text / body of the book)


3.2 การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หรือการอ้างอิงระบบนามปี (parenthetical references)


3.3 เชิงอรรถ(การอ้างอิงท้ายหน้า)



4. ส่วนประกอบตอนท้าย (auxiliary materials)


4.1 ภาคผนวก (appendix)


4.2 อภิธานศัพท์ (glossary)


4.3 บรรณานุกรม (bibliography)


4.4 ดรรชนี หรือ บัญชีค้นคำ (index)


กิจกรรมที่ 5 การปรับแต่งตัวอักษรแบบ Type on Path

แนวคิด

"Path" คือเส้นตรงและเส้นโค้งที่เชื่อมต่อกันระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อให้มีรูปร่างตามความต้องการ (เรียกว่าเส้น Path) และยังสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง


1.ประโยชน์ของเส้นพาธ


-ช่วยในการสร้างรูปร่างต่าง ๆ ได้ตามต้องการ


2. สามารถปรับแต่งตัวอักษรแบบ Type on Path ได้

การสร้างตัวหนังสือให้วิ่งไปตามเส้น path


1. เลือกเครื่องมือที่เราจะใช้ทำเส้น path ก่อน โดยเราจะใช้ pen tool เป็นตัวเขียนเส้น path มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ พอเลือกเครื่องมือเสร็จเราก็มาเลือก fill ให้เป็น none ก่อนแล้วเลือกสีให้เส้น stroke เพื่อที่เราจะได้สร้างเส้นขึ้นมาและแก้ไขมันได้ก่อนที่เราจะนำตัวหนังสือมาเขียนใส่





2. ขั้นตอนต่อไปเราก็ใช้ pen tool สร้างเส้น path ขึ้นมา ตามที่เราต้องการโดยที่ต้องการให้เส้น path โค้งก็ให้คลิ้ก mouse ซ้ายค้างไว้หลังจากคลิ้ก mouse สร้างจุดขึ้นมาแล้วลาก mouse ให้เกิดความโค้งตามที่เราต้องการ


3.เมื่อเราสร้างเส้น path เสร็จแล้ว ( ตามที่เราต้องการและเหมาะสมกับข้อความที่เราจะใส่)

4. ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือใส่ ต้องใช้เครื่องมือ Type Tool โดยเลือก Path Type Tool มาใช้ โดยที่กด mouse ที่ค้างไว้ Type Tool จะปรากฏเครื่องมือของ Type Tool เพิ่มขึ้นมา แล้วเลือก Path Type Tool 5. ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือลงให้ นำ mouse ไปคลิ้กที่ปลายเส้น path ที่เราสร้างขึ้น เราก็จะสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปได้
6. เริ่มพิมพ์ข้อความได้ ผมใช้ข้อความว่า http://www.designparty.com/

7. เสร็จแล้วเลือกสีตามที่เราต้องการก็จะ ได้ตัวหนังสือ ที่มีลักษณะตาม path ที่เราสร้างขึ้น