วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม Ask Media ในการแก้ไขและตัดคำของพยัญชนะหรือข้อความ

วันอังคารที่ 26 เมษายน 2554
1.สระลอย คือ อะไร


เป็นสระที่อยู่กว่าพยัญชนะ หรือลอยสูงกว่าสระปกติ
ในภาษาบาลี - สันสกฤต หรือภาษาเขมรนั้นจะมีรูปสระที่ใช้กัน ๒ แบบคือ
สระจมหมายถึงสระที่ใช้ประสมกับพยัญชนะ ส่วนในสระลอยไม่ต้องประสมพยัญชนะ ส่วนในสระลอยไม่ต้องประสมพยัญชนะ จะมีสระลอยก็เฉพาะที่ยืมมาจากภาษาบาลี - สันสกฤต สระลอยของไทยมีอยู่ ๒ พวก คือ
- ที่มีรูปเฉพาะตัว ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา
- รูปที่มีตัว อ เป็นทุ่นเกาะยึด อา อี เอ โอ ไอ


2.สระลอย มีผลกระทบกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างไร
ทำให้ข้อความไม่สวย ทำให้วรรณยุกต์อยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสม


3.โปรแกรมที่ใช้ในการแก้สระลอยชื่อโปรแกรมอะไร สามารถใช้งานได้อย่างไร
โปรแกรม เอเอสเค สแควร์ สามารถใช้งานได้ดังนี้ คือ
-ไฟล์งานที่ถูกแก้สระลอยหรือตัดคำด้วยโปรแกรม เอเอสเค สแควร์สามารถนำไปเปิดกับเครื่องที่ไม่มีโปรแกรม เอเอสเค สแควร์ได้โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดเพราะโปรแกรม เอเอสเค สแควร์ใช้วิธีพิเศษในการแก้ไขปัญหาสระลอยและตัดคำ แต่อย่าลืมว่าเครื่องที่จะเปิดไฟล์ดังกล่าวจำเป็นต้องมีฟอนต์ ASK-Display ด้วย(ฟอนต์แจกฟรีมาพร้อมกับโปรแกรม)
-ปัญหาวรรณยุกต์ลอยหรือสระลอย เป็นปัญหาที่ทำให้คนทำกราฟิกทำงานลำบาก แต่ด้วยความสามารถของ เอเอสเค สแควร์ สามารถแก้สระลอยขณะพิมพ์หรือแก้สระลอยของประโยคที่พิมพ์ไปแล้ว ด้วยการคลิกเพียงแค่ครั้งเดียว
-เอเอสเค สแควร์ สามารถแปลงตัวหนังสือที่อ่านไม่ออกเมื่อเปลี่ยนฟอนต์ ให้เป็นปกติได้และแก้ภาษาต่างดาวอัตโนมัติ ในกรณีที่ Copy ข้อความจากที่อื่นมา Paste ในโปรแกรมกราฟิกที่ใช้อยู่หรือจากการเปลี่ยนฟอนต์สลับไปมา
-ระบบตัดคำภาษาไทย ให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อการจัดหน้าหนังสืออย่างรวดเร็วใน Adobe InDesign 1.5, 2.0, CS, CS2, CS3, CS4
-ด้วยความสามารถของเอเอสเค สแควร์ ยังสามารถที่จะพิมพ์ภาษาไทยด้วยฟอนต์เดิม ๆ (non-unicode font) ได้ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS2, CS3, CS4 และ Adobe Illustrator CS, CS2, CS3, CS4
-ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS ไม่สามารถพิมพ์ตัวอักษร ญ ได้ แต่เอเอสเค สแควร์สามารถทำให้พิมพ์ ญ ใน Adobe Photoshop CS ได้เพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้น

แหล่งข้อมุล : http://www.askmedia.co.th/it/square.php

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4 โปรแกรมในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

โปรแกรมที่ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ Adobe Indesign

ประโยชน์ของโปรแกรม AdobeInDesign


1.โปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ 1 หน้าขึ้นไป
2.ใช้ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ
3.ใช้เป็นโปรแกรมจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์


จุดเด่นของโปรแกรม Indesign


-สามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆ กับการนำเอาโปรแกรม PageMaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator

-ระบบการทำงานของโปรแกรม InDesign นั้น ไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator

-ส่วนข้อความสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word แล้วจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆใน InDesign เสร็จแล้วจึง Export ไฟล์งาน เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ต่อไป


สิ่งที่ควรรู้ก่อนการใช้โปรแกรม


1.โหมดสี (Color Mode)

-โหมด RGB (Red, Green, Blue) ประกอบด้วยสีสามสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน

-โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, black) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ

-โหมดขาวดำ (Grayscale) โหมดนี้จะมีเพียงสองสีคือ สีขาวและสีดำ

2.ประเภทของไฟล์ (Format Type)

-ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "bitmap" ซึ่งเกิดจากการนำเอาจุดสีเล็กๆ หลายๆ จุดมารวมกันเพื่อให้เกิดภาพ มีนามสกุล อาทิ เช่นBMP, TIFF GIT, JPG, PSD, PNG, PFD

-ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based คือไฟล์กราฟฟิคที่เกิดจากการ ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดภาพ หรือเราจะเรียกไฟล์ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ไฟล์ประเภท "postscript“ มีนามสกุลอาทิ เช่น EPS, AI


3.ขนาดกระดาษ (Size paper)





4.ฟอนต์ (Font)
ฟอนต์ คือ ชุดแบบตัวพิมพ์ อาจแบ่งฟอนต์ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ฟอนต์เข้ารหัส และฟอนต์ฟอร์แมต
-ฟอนต์เข้ารหัส

-ฟอนต์ฟอร์แมต


แนะนําโปรแกรม InDesign CS3


-Menu Bar หรือ เมนู เป็นชุดเครื่องมือและคําสั่งทุกอย่าง รวบรวมเอาไว้ที่นี่ เช่นการเปิด/ปิดโปรแกรม การเลือก Font เป็นต้น

-Control Bar หรือ แถบควบคุม เป็นส่วนควบคุมการทํางานที่กําลังดําเนินการอยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะทํางานกับ Font Layout Object เป็นต้น
-Tools Box เปรียบเหมือนกล่องเครื่องมือที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์

-Palettes เป็นแถบเครื่องมือปลีกย่อยต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้คําสั่งที่ต้องการได้จากที่นี่ หรือสามารถย้ายและลบเครื่องมือ/คําสั่ง ที่ต้องการเอามาที่นี่ได้


พื้นฐานการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์


บรรทัดฐานในการออกแบบ 3 ข้อ ดังนี้

1. การตอบสนองประโยชน์การใช้สอย เช่น

1.1 งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจน
1.2 งานออกแบบเว็บไซต์ ถึงจะสวยอย่างไร แต่ถ้าโหลดช้า ทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็นับว่าเป็นงานออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่ดี

1.3 งานออกแบบ CAI ถ้าปุ่มวางกระจัดกระจาย ผู้ใช้หลงทางก็ไม่เป็นการออกแบบที่ดี

2 .ความสวยงามความพึงพอใจ

3. การสื่อความหมาย


บรรทัดฐานในการออกแบบ



กระบวนการทำงานออกแบบกราฟิก


1. วิเคราะห์โจทย์ที่มาให้สร้างผลงาน ซึ่งได้แก่

1.1 What เราจะทำงานอะไร กำหนดเป้าหมายที่จะทำ เช่น เผยแพร่

1.2 Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน

1.3 Who ใครเป็นคนที่มาใช้งานเรา เช่น โปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่

1.4 How จะทำงานชิ้นนี้อย่างไร

2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบให้ได้ (Concept)

3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว

4. ออกแบบร่าง

5. ออกแบบจริง



การออกแบบและสื่อความหมาย



ลักษณะของเส้น


1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง

2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง

4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง

5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล

6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด

7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด


ความรู้สึกของรูปร่างรูปทรง


1.วงกลม ให้ความรู้สึกเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมจุดความสนใจ
2. สี่เหลี่ยม ให้ความรู้สึกสงบ มั่นคง เป็นระเบียบ

3. สามเหลี่ยม ทิศทาง เฉียบคม

4. หกเหลี่ยม ให้ความรูสึกความเชื่อมโยง การเป็นหน่วยย่อย

5. รูปร่างธรรมชาติ อิสระ การเลื่อนไหล

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 โปสเตอร์



โปสเตอร์ (Poster) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ผู้จัดทำ ใช้ติดตามสถานที่ต่างๆ ในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอเพียงแนวความคิดเดียวเป็นหลักใหญ่


ประโยชน์ของโปสเตอร์
1. โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์
2. เพื่อใช้ในการศึกษานำเสนอสาระใดสารหนึ่ง
3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ
4. นำเสนอผลงานทางวิชาการ


ลักษณะของโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล
8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น


หลักการออกแบบโปสเตอร์
1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป
3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ
4. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.
5. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา


ประเภทของกระดาษในงานสื่อสิ่งพิมพ์
กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก



กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น



กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้



กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์



กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน



กระดาษเหนียว (Kraft Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ



กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง



กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ



กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ



กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์



กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2

จากกิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 อาจารย์ได้มีการสอนในเรื่องของ Adobe Photoshop และได้ให้มีการสอนในเรื่องของการทำนามบัตรของตนเอง และออกแบบนามบัตรของตนเอง



การออกแบบนามบัตรของข้าพเจ้าเอง

ซึ่งในการทำนามบัตรนั้นจะต้องมีชื่อของเรา หรือชื่อหน่วยงาน และที่อยู่ที่สามารถที่จะติดต่อได้ และในการออกแบบควรที่จะออกแบบก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ โดยควรกำหนดส่วนประกอบต่างๆในนามบัตรให้เหมาะสมกับนามบัตรนั้นๆ ซึ่งในการออกแบบนามบัตรนั้นก็จะใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการออกแบบนามบัตร ซึ่งในโปรแกรมนี้จะมีอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆที่ช่วยในการออกแบบงานต่างๆ โดยรวมทั้งการออกแบบนามบัตรด้วย

หลักในการออกแบบนามบัตร


1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง

2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป

3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ

4. ตัวอักษรไม่ควรเกิน 2-3 ชนิดใน 1 นามบัตร

5. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.

6. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา


ความคิดเห็นในการเรียนกิจกรรมสัปดาห์ที่ 2

จากที่ข้าพเจ้าได้เรียนกิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบในการสร้างและออกแบบการทำนามบัตรของตนเอง โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการทำ และยังทำให้ได้ทราบถึงการใช้โปรแกรมนี้ได้มากขึ้นอีกด้วย