วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5 การประสานงาน (Coordinating),การรายงาน (Reporting) ,งบประมาณ (Budgeting)

1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
การประสานงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ
                2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ

2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
                ในการประสานงานกับการจัดศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญ ซึ่งในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จะต้องมีกระบวนการบริหารในการจัดสรรบุคคลในการทำงาน การบริหารบุคคลในหน่วยงาน และในการประสานงานจะต้องมีระเบียบธรรมเนียมในการบริหารเพื่อให้บุคคลในหน่วยงานมีการปฏิบัติงานในขอบเขตงานที่เหมาะสม และปฏิบัติงานตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ และในการประสานงานนั้นจะต้องนักบริหารหรือหัวหน้างานเป็นส่วนสำคัญเพราะนักบริหารหรือหัวหน้างานนั้นจะต้องเป็นผู้วางแผนและกำหนดรายละเอียดต่างๆให้กับพนักงานได้ปฏิบัติตาม

3. การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร
                  การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

4. ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
                  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
                  หมวดค่าจ้างชั่วคราว
                  หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
                  หมวดค่าสาธารณูปโภค
                  หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
                  หมวดเงินอุดหนุน
                  หมวดรายจ่ายอื่น

5. เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                 1. ค่าฌาปนกิจ
                 2. ค่าสินบน
                 3. ค่ารางวัลนำจับ
                 4. เงินอื่น ๆ ที่สำนักงบประมาณจำ กำหนดเพิ่มเติม

6. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
                 1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
                 2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
                 3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
                 4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
                 5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม

7.  เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
                 1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                 2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
                 3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
                 4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
                 5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
                 6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
                 7.การติดตามผล

8. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
                 1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
                 2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
                 3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่นๆทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
                 4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
                 5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทาให้การทางานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                 6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
                 7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
                 8.การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
                 9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
                10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทาให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
                 11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
                 12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป

9. จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี จงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำนักหอสมุดนี้ได้มีการจัดการการประสานงานได้อย่างเป็นระบบ โดยทางศูนย์การเรียนรู้นั้นจะมีการติดต่อสื่อสาร การวางแผนในหน่วยงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเพื่อให้หน่วยงานมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับหน่วยงาน